Archive for the ‘เรียนรู้-รีโมทเซนซิง’ Category

ข่าว ‘ธีออส’ ส่งขึ้นวงโคจร 1 ต.ค. นี้แล้ว

theos03 แหล่งข่าว http://www.gistda.or.th/Gistda/THEOS_launch1.html

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของไทย หรือธีออส ได้ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อเวลา 13.37 นาที วันนี้ (1 ต.ค.) ตามเวลาในประเทศไทย หรือ 06.37 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (UTC) โดยธีออสถูกส่งจากฐานยาสนี (Yasny) ประเทศรัสเซีย ด้วยจรวดนำส่งเนปเปอร์ (Dnepr) ตามกำหนดการเดิม ทั้งนี้ หลังจากที่ธีออสขึ้นสู่วงโคจรประมาณ 1 ชั่วโมง จะส่งสัมผัสแรก หรือ First contact ไปยังสถานีรับสัญญาณดาวเทียม ที่ประเทศสวีเดน โดยคาดว่าประเทศไทยจะรับสัญญาณจากธีออสได้ในเวลา 21.00 น. ของวันนี้

นายชาญชัย เพียรวิจารณ์พงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนการใช้งานธีออส คาดว่าจะต้องใช้เวลาตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ บนดาวเทียม เช่น กล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์ส่งสัญญาณ คาดว่าประมาณ 3 เดือนจะสามารถให้บริการภาพถ่ายจากดาวเทียมธีออสได้ ซึ่งขณะนี้ประเทศสวีเดนมีความสนใจที่จะเป็นตัวแทนจำหน่ายภาพถ่ายดาวเทียมธีออส รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่แสดงความจำนงเข้ามาพอสมควร

Read the rest of this entry »

รีโมทเซนซิงสำหรับงานติดตามภัยธรรมชาติ

Hurricane_Isabel_18_sept_2003_1555รีโมทเซนซิง เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดตามพายุ เฮอริเคน ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดยในตัวอย่างนี้
เป็นการติดตาม เฮอริเคน อิสาเบล ที่พัดพาทำให้เกิดดินถล่มที่ North Carolina เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2546 ด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม MODIS

 

นอกจากนี้เราติดตามการเคลื่อนตัวของเมฆ ด้วยภาพเรดาร์ ดังรูปด้านล่างนี้

CAPPI160@RAD4@040710205452
ถ้าจะนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้วยกระบวนการ Digital Image processing ก็สามารถทำได้ด้วยการ ตรวจหาค่าสะท้อนที่ต้องการ หรือดึงค่ามา เป็นกระบวนการ Image Enhancement ซึ่งต้องศึกษากันต่อไป เพราะเป็นกระบวนการหนึ่งในการจัดการภาพให้เด่นชัดขึ้น

สมมติโจทย์คือ ต้องการดึงค่าเมฆมา โดยใช้ Image processing ในที่นี้ใช้โปรแกรมรีโมทเซนซิง ชื่อ ENVI 4.0

Read the rest of this entry »

กระทรวงไอซีทีเตรียมส่งดาวเทียม SMMS ขึ้นสู่วงโคจร

ที่มาหัวข้อข่าว : http://www.space.mict.go.th/mict

กระทรวงไอซีทีได้ร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ (Memorandum of Understanding for Small Multi-Mission Satellite Project and Related Activities :SMMS) เป็นดาวเทียมร่วมสร้างระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน  มีประเทศสมาชิกลงนาม 6 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน มองโกเลีย ปากีสถาน บังคลาเทศและอิหร่าน  ซึ่งเป็นโครงการสร้างดาวเทียมเอนกประสงค์ขนาดเล็ก (Small Multi – Mission Satellite :SMMS)หรือ SMMS เป็นผลงานวิจัยของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเกิดจากความร่วมมือพหุภาคีด้านเทตโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้งานในภูมิภาคและเอเชียแปวิฟิก (Asia–Pacific Multilateral Cooperation in Space Technology and Application :AP-MCSTA)  เป็นโครงการที่ดีอีกโครงการหนึ่ง ในด้านรีโมทเซนซิง

นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้ข่าวสารถึงคณะรัฐมนครีได้มีมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ให้ประเทศไทย เข้าร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในระหว่าง 6 ประเทศข้างต้น
 

Read the rest of this entry »

ERDAS4 : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 1

การทำงานบนโปรแกรม ERDAS Imagine ซึ่งเป็นโปรแกรมทางด้านรีโมทเซนซิ่งเบื้องต้น อีกโปรแกรมหนึ่งที่น่าสนใจ ในประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง แต่ในราคาที่ค่อนข้างแพงเอาการ เพราะฉะนั้นในหน่วยงานใดที่จะใช้จำต้องมีทุนหนาสักหน่อย ถึงจะมีสิทธิเป็นเจ้าของได้ โดยตอนแรกนี้จะมีอยู่ 7 หัวข้อ ได้แก่
1. นำเข้าข้อมูลในรูปแบบต่างๆ (Data Import)
2. การแสดงผลภาพถ่ายดาวเทียม (Data Display)
3. การเปลี่ยนช่วงคลื่นสีผสมใหม่ (Color Composite)
4. การตัดขนาดของภาพตามต้องการ (Resample Data)
5. การแสดงพิกัด และค่าสะท้อนของภาพ
6. การสร้างจอภาพช่วยมอง
7.การทำภาพซ้อนเพื่อช่วยในการดูภาพ

ดูเอกสารเพิ่มเติมได้ในรายละเอียด  erdas4_p01.pdf

รีโมทเซนซิงดูโลกผ่านเว็บไซต์

รีโมทเซนซิงดูโลกผ่านเว็บไซต์

ดูโลกจากอวกาศ สามารถคลิกบนรูปเพื่อการแสดงผล หรือการกำหนดค่า lat/long เพื่อแสดงภาพแผนที่ในแต่ละพื้นที่ เหมาะสำหรับนักเรียน ในการเรียนรู้ ภูมิศาสตร์โลก

http://www.fourmilab.ch/cgi-bin/Earth

เรียนรู้การใช้งานโปรแกรม PCI/EasyPace

PCI EasyPace เป็นซอฟท์แวร์ทางด้านรีโมทเซนซิ่งอีกโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถสูงเช่นกัน ผู้สนใจสามารถคลิ๊ก เข้าไปดูขั้นตอนการทำงานของ PCI EasyPace ในด้านรีโมทเซนซิ่ง

download เนื้อหาในการเรียนรู้ในตาราง

เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 1 การอ่านภาพ รีโมทเซนซิง และการใช้ ImageWork pcieasypace_p01.pdf

การแสดงผลข้อมูล Color Composite ในโปรแกรม PCI EasyPace
การแสดงผล Color Composite ในแบบต่างๆ

pcieasypace_p02.pdf
การเน้นข้อมูลภาพ / Linear Combination pcieasypace_p03a.pdf และ

pcieasypace_p03b.pdf

การเน้นข้อมูลภาพ / Spectral Ratio pcieasypace_p04.pdf
การปรับแก้ข้อมูลเชิงเรขาคณิต / Geometric Correction pcieasypace_p05.pdf
การจำแนกภาพ / Scatter plot pcieasypace_p06.pdf
การจำแนกภาพ / UNSUPERVISE CLASSIFICATION pcieasypace_p07.pdf
การจำแนกภาพ / SUPERVISE CLASSIFICATION pcieasypace_p08.pdf
การปรับแต่งผลการจำแนก / Post Classification pcieasypace_p09.pdf

มีโปรแกรมด้านรีโมทเซนซิงอีกหลายโปรแกรมที่ผู้ใช้งานด้านรีโมทเซนซิงน่าศึกษา

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 9

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 9
การปรับแต่งผลการจำแนก / Post Classification

วัตถุประสงค์
ผลการจำแนกมักมีจุดภาพใกล้เคียงกัน หรือกลุ่มจุดภาพเล็กๆ กระจัดกระจาย จึงมักทำการปรับแต่ง
ผลการจำแนกให้มีความสมบูรณ์ขึ้น โดยใช้ SIEVE analysis

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากไฟล์ pcieasypace_p09.pdf

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 8

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 8
การจำแนกภาพ / SUPERVISE CLASSIFICATION

วัตถุประสงค์
จำแนกภาพแบบ SUPERVISE CLASSIFICATION โดยการจัดกลุ่มจุดภาพลงในประเภทข้อมูลที่ได้กำหนดพื้นที่ตัวอย่างไว้
การเลือกพื้นที่ตัวอย่าง Region of Interests

ดูขั้นตอนปฏิบัติการได้จาก pcieasypace_p08.pdf

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 7

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 7

การจำแนกภาพ / UNSUPERVISE CLASSIFICATION

วัตถุประสงค์
จำแนกภาพแบบ UNSUPERVISE CLASSIFICATION โดยการจัดกลุ่มจุดภาพโดยเงื่อนไขทางสถิติ
ตามความคล้ายคลึงกัน เหมาะสำหรับข้อมูลภาพที่ USER ไม่ทราบรายละเอียดหรือสภาพสิ่งปกคลุมดินของพื้นที่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ไฟล์ pcieasypace_p07.pdf

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 6

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 6
การจำแนกภาพ / Scatter plot

วัตถุประสงค์
ใช้ศึกษา Correlation ระหว่างข้อมูลโดยแสดงการกระจายกลุ่มว่ามีแนวโน้มที่จะอยู่กลุ่มเดียวกัน
หรือต่างกลุ่ม ทั้งส่วนที่เป็นข้อมูลภาพ และส่วนของตัวอย่างประเภทข้อมูล

ดูขั้นตอนการปฏิบัติการได้จากไฟล์ pcieasypace_p06.pdf

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 5

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 5
การปรับแก้ข้อมูลเชิงเรขาคณิต / Geometric Correction

วัตถุประสงค์
ปรับแก้ความคลาดเคลื่อนข้อมูลให้ถูกทิศทาง

การปรับแก้ข้อมูลเชิงเรขาคณิต หรือการทำ Geometric Correction เป็นการปรับแก้ค่าพิกัดเชิงภูมิสาสตร์
เพื่อให้เข้าสู่ระบบ UTM หรือระบบที่ต้องการ
ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการจัดทำ 4 รูปแบบคือ
image to image ใช้ในกรณีที่ทำการอ้างอิง images ที่ยังไม่มีพิกัด ทำร่วมกับข้อมูลที่มีพิกัดแล้ว
image to vector ใช้ในการณีที่ทำการอ้างอิง images กับข้อมูล Vector
image to MAP ใช้ในกรณีที่มีการอ้างอิง images กับข้อมูล bitmap
image to coordinates ใช้ในกรณีที่มีผู้ใช้พิมพ์ค่าพิกัดเข้าไปด้วย keyboard

ดูรายละเอียดปฏิบัติการได้จากไฟล์ pcieasypace_p05.pdf

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 4

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 4
การเน้นข้อมูลภาพ / Spectral Ratio

วัตถุประสงค์
เน้นข้อมูลภาพจากการทำอัตราส่วนค่า DN ต่างแบนด์หรือต่างช่วงคลื่น เหมาะสำหรับภาพที่มีข้อมูลภาพที่มีค่าต่ำ
หรือสูงสุดแตกต่างกันมาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากไฟล์ pcieasypace_p04.pdf

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 3

PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 3

การเน้นข้อมูลภาพ / Linear Combination

วัตถุประสงค์
เน้นข้อมูลภาพโดยการนำข้อมูลหลายๆ แบนด์มาทำผลบวกเชิงเส้นของแบนด์
(ต้องกำหนดค่าสัมประสิทธิ์)
เช่น Principal Component Analysis (PCA)

ดูเอกสารเพิ่มเติม 2 ไฟล์ pcieasypace_p03a.pdf และ pcieasypace_p03b.pdf

ข่าวสารย้อนหลัง
Who's Online
6 visitors online now
3 guests, 3 bots, 0 members
Powered by Visitor Maps