รีโมทเซนซิงสำหรับงานติดตามภัยธรรมชาติ

Hurricane_Isabel_18_sept_2003_1555รีโมทเซนซิง เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดตามพายุ เฮอริเคน ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดยในตัวอย่างนี้
เป็นการติดตาม เฮอริเคน อิสาเบล ที่พัดพาทำให้เกิดดินถล่มที่ North Carolina เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2546 ด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม MODIS

 

นอกจากนี้เราติดตามการเคลื่อนตัวของเมฆ ด้วยภาพเรดาร์ ดังรูปด้านล่างนี้

CAPPI160@RAD4@040710205452
ถ้าจะนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้วยกระบวนการ Digital Image processing ก็สามารถทำได้ด้วยการ ตรวจหาค่าสะท้อนที่ต้องการ หรือดึงค่ามา เป็นกระบวนการ Image Enhancement ซึ่งต้องศึกษากันต่อไป เพราะเป็นกระบวนการหนึ่งในการจัดการภาพให้เด่นชัดขึ้น

สมมติโจทย์คือ ต้องการดึงค่าเมฆมา โดยใช้ Image processing ในที่นี้ใช้โปรแกรมรีโมทเซนซิง ชื่อ ENVI 4.0

โดยในตัวอย่างนี้ มีภาพถ่ายจากเรดาร์ เราจะทำอย่างไร ที่จะดึงเฉพาะค่าเมฆออกมาได้ จากภาพ
ในตัวอย่างนี้ ผู้ศึกษา ได้ภาพที่เป็น GIF Map มา ก็ต้องเริ่มทำการแปลงภาพในรูปแบบที่เหมาะสำหรับงาน Image Processing เช่น JPG หรือ TIF  (ใช้โปรแกรม ACDSEE แปลงได้ง่ายๆ) จากนั้นก็นำมาเปิดในโปรแกรมด้าน Image Processing ในที่นี้จะข้ามขั้นตอนการ Geometric Correction ไป   เพราะเป็นแค่เพียง Demo ให้ผู้อ่านได้เข้าใจในหลักการเบื้องต้น

ผู้ศึกษา สามารถใช้งานโปรแกรมรีโมทเซนซิง ENVI ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมด้านนี้ มาใช้ในการดึงค่าสะท้อนของภาพ โดยหลักการทำ Density Slicing เพื่อกำหนดค่าในช่วง ที่ต้องการออกมา แล้วทำการใช้ Math Equation ในที่นี้ใช้คำสั่ง Masking ในการจัดการได้ ซึ่งโปรแกรมได้จัดเตรียมไว้ให้อยู่แล้ว ไม่ต้องเสียเวลาเขียน

ผลลัพธ์ตอนท้ายจะได้แผนที่เฉพาะเมฆที่เราต้องการติดตามนั่นเอง

ท่านลองโหลดดูจากตัวอย่างที่จะมีให้โหลดดู CAI ตัวอย่างนี้
หน้าต่าง CAI [ลิงค์ ENVI_Cloud Detect ]  
หรือ จะดาว์นโหลดไปดูในเครื่องได้ที่ [Save File  ENVI_Cloud Detect ]  ขนาดไฟล์ 48 MBytes

Comments are closed.

ข่าวสารย้อนหลัง
Who's Online
9 visitors online now
6 guests, 3 bots, 0 members
Powered by Visitor Maps