กลุ่มวิจัยGCOM

ปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนในการตัดสินใจบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ประกอบด้วยเทคโนโลยี 3 ด้านได้แก่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) รีโมทเซนซิง (RS) และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ประยุกต์ใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรต่างๆ ทั้งที่เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ดังนั้นการติดตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จึงเป็นประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนในการวิจัยและพัฒนา จากฐานข้อมูลเพื่อการจัดการและบริหารทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่แต่ละหน่วยงานในท้องถิ่นต่างๆ ต้องเกี่ยวข้องกับการติดตามทรัพยากรเหล่านั้น
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจึงเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนงาน อำนวยความสะดวกสำหรับผู้รับผิดชอบด้านติดตามและประเมินทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่หน่วยงานของตนดูแล และมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น การช่วยตัดสินใจเพื่อเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม การหาเส้นทางที่เหมาะสมในการวางแผนระบบการขนส่ง และการวางแผนในการจัดเก็บภาษีองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล และการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

ในอดีต กลุ่มวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เคยตั้งเป็น หน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จนกระทั่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีนโยบาย ปรับลดหน่วยวิจัย และการปรับโครงสร้างในระดับคณะฯ จึงได้ ปรับสถานภาพเป็นกลุ่มวิจัยฯ มาในขณะนี้

และเดิมเคยสังกันอยู่
ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดยทางกลุ่มวิจัยได้สนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
ทั้งในรายวิชา Remote Sensing Global Positioning Systems และ Geographic Information Systems
และการประยุกต์ Geo-Informatics เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในด้านต่างๆ ในการทำโครงงานปัญหาพิเศษ และวิทยานิพนธ์ ์ ของนักศึกษาปริญญาตรี และปริญญาโท ร่วมกับคณาจารย์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มวิจัยฯ ให้ความสำคัญของการเรียนรู้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

คณาจารย์ที่มีความรู้ ความชำนาญในด้านระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (GEOINFORMATICS RESEARCH CENTER FOR COMMUNITY DEVELOPMENT) ได้รวมกันเพื่อการพัฒนาวิชาการและวิจัยในด้านนี้ตลอดมา

ข่าวสารย้อนหลัง
Who's Online
8 visitors online now
5 guests, 3 bots, 0 members
Powered by Visitor Maps