Author Archive
สไลด์เรื่องการวิเคราะห์และตัดสินใจด้วย GIS
Thai GIS User Conference ครั้งที่ 13 GIS in Action
เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพ
ได้มีโอกาสไปนำเสนอ เรื่อง แนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ GIS และการนำข้อมูลมาสนับสนุนการติดสินใจ
ด้วยเวลาที่จำกัดมาก เพียง 40 นาที ก็ได้นำเสนอ เพียงแนวคิดและหลักการ ให้สำหรับผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในการสัมมนาในครั้งนี้
สำหรับ slide ในการนำเสนอ ได้แปลงเป็น PDF ไว้ให้ download ด้วยขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณ 29 MBytes
[ Part_GIS_Analysis.pdf ]
ขอบคุณสำหรับผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ครับ
และขอขอบคุณสมาชิกทุกท่านที่ได้ให้การสนับสนุนตำรา ArcGIS 9.2 ทั้งก่อนหน้างาน และในงานนี้
สำหรับสมาชิกที่ได้ซื้อตำรา ArcGIS 9.2 ไป ให้ไป download ฐานข้อมูลตัวอย่าง หน้า 139 เพื่อใช้ประกอบการฝึก เรียนรู้โปรแกรม ArcGIS ซึ่งใช้ได้ทั้ง 9.1 หรือ 9.2 และ 9.3 ที่กำลังวางตลาดในปัจจุบัน
พยายามเรียนรู้พื้นฐานหลักการเบื้องต้นให้เข้าใจนะครับ เพราะฉบับถัดไปจะเป็นการประยุกต์ใช้ในแต่ละเครื่องมือที่ยากขึ้น โดยไม่ซึ่งจะไม่ได้เน้นพื้นฐานแล้วครับ
ข่าวดีสำหรับงานวิจัยใช้ภาพรีโมทเซนซิง Terra และ Aqua ในระบบ MODIS
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ หรือ สทอภ. ได้จัดโครงการดีๆ สำหรับนักวิจัย นิสิต นักศึกษา และคณาจารย์จากสถาบันศึกษา "โครงการประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมระบบ MODIS รายวัน"
โดยในโครงการนี้ สทอภ. ร่วมกับ AIT ในการรับสัญญาณภาพจากดาวเทียมระบบ MODIS จากดาวเทียม Terra และ Aqua
โดยระบบ MODIS มีจำนวนช่วงคลื่นหลายช่วงคลื่นให้เลือกใช้งานใน resolution รายละเอียดข้อมูล 250 – 1,000 เมตร
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ จึงดำเนินการประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมระบบ MODIS เบื้องต้น เพื่อให้หน่วยงานราชการ สถานการศึกษาและนักวิจัย สามารถนำไปประยุกต์ต่อยอดในภารกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาไฟป่า ปัญหาภัยแล้ง และปัญหาฝุ่นควันจากไฟป่า เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมของประเทศ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักพัฒนาธุรกิจ สทอภ.
แหล่งข้อมูล http://modis.gistda.or.th/
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม http://sos.noaa.gov/datasets/Atmosphere/aqua_swath.html
ข่าว ‘ธีออส’ ส่งขึ้นวงโคจร 1 ต.ค. นี้แล้ว
แหล่งข่าว http://www.gistda.or.th/Gistda/THEOS_launch1.html
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของไทย หรือธีออส ได้ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อเวลา 13.37 นาที วันนี้ (1 ต.ค.) ตามเวลาในประเทศไทย หรือ 06.37 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (UTC) โดยธีออสถูกส่งจากฐานยาสนี (Yasny) ประเทศรัสเซีย ด้วยจรวดนำส่งเนปเปอร์ (Dnepr) ตามกำหนดการเดิม ทั้งนี้ หลังจากที่ธีออสขึ้นสู่วงโคจรประมาณ 1 ชั่วโมง จะส่งสัมผัสแรก หรือ First contact ไปยังสถานีรับสัญญาณดาวเทียม ที่ประเทศสวีเดน โดยคาดว่าประเทศไทยจะรับสัญญาณจากธีออสได้ในเวลา 21.00 น. ของวันนี้
นายชาญชัย เพียรวิจารณ์พงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนการใช้งานธีออส คาดว่าจะต้องใช้เวลาตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ บนดาวเทียม เช่น กล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์ส่งสัญญาณ คาดว่าประมาณ 3 เดือนจะสามารถให้บริการภาพถ่ายจากดาวเทียมธีออสได้ ซึ่งขณะนี้ประเทศสวีเดนมีความสนใจที่จะเป็นตัวแทนจำหน่ายภาพถ่ายดาวเทียมธีออส รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่แสดงความจำนงเข้ามาพอสมควร
เชิญชวนร่วมงาน TUC 2008 วันที่ 9 ต.ค. 51
Thai GIS User Conference ครั้งที่ 13 GIS in Action
เชิญชวนสมาชิก นักจีไอเอส ร่วมงาน สัมมนา และสาธิตอุปกรณ์ ที่น่าสนใจ สำหรับผู้ติดตามเทคโนโลยีด้านนี้
ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551
รีบลงทะเบียน http://www.esrith.com/tuc2008/form.cfm ภายใน 26 กันยายน 2551 นี้
สมัครและดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.esrith.com/tuc2008/schedule.html
รีโมทเซนซิงสำหรับงานติดตามภัยธรรมชาติ
รีโมทเซนซิง เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดตามพายุ เฮอริเคน ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดยในตัวอย่างนี้
เป็นการติดตาม เฮอริเคน อิสาเบล ที่พัดพาทำให้เกิดดินถล่มที่ North Carolina เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2546 ด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม MODIS
นอกจากนี้เราติดตามการเคลื่อนตัวของเมฆ ด้วยภาพเรดาร์ ดังรูปด้านล่างนี้
ถ้าจะนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้วยกระบวนการ Digital Image processing ก็สามารถทำได้ด้วยการ ตรวจหาค่าสะท้อนที่ต้องการ หรือดึงค่ามา เป็นกระบวนการ Image Enhancement ซึ่งต้องศึกษากันต่อไป เพราะเป็นกระบวนการหนึ่งในการจัดการภาพให้เด่นชัดขึ้น
สมมติโจทย์คือ ต้องการดึงค่าเมฆมา โดยใช้ Image processing ในที่นี้ใช้โปรแกรมรีโมทเซนซิง ชื่อ ENVI 4.0
กระทรวงไอซีทีเตรียมส่งดาวเทียม SMMS ขึ้นสู่วงโคจร
ที่มาหัวข้อข่าว : http://www.space.mict.go.th/
กระทรวงไอซีทีได้ร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ (Memorandum of Understanding for Small Multi-Mission Satellite Project and Related Activities :SMMS) เป็นดาวเทียมร่วมสร้างระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน มีประเทศสมาชิกลงนาม 6 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน มองโกเลีย ปากีสถาน บังคลาเทศและอิหร่าน ซึ่งเป็นโครงการสร้างดาวเทียมเอนกประสงค์ขนาดเล็ก (Small Multi – Mission Satellite :SMMS)หรือ SMMS เป็นผลงานวิจัยของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเกิดจากความร่วมมือพหุภาคีด้านเทตโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้งานในภูมิภาคและเอเชียแปวิฟิก (Asia–Pacific Multilateral Cooperation in Space Technology and Application :AP-MCSTA) เป็นโครงการที่ดีอีกโครงการหนึ่ง ในด้านรีโมทเซนซิง
นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้ข่าวสารถึงคณะรัฐมนครีได้มีมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ให้ประเทศไทย เข้าร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในระหว่าง 6 ประเทศข้างต้น
การใช้ GPS ในการติดตามกระบือ
การใช้ GPS ในการติดตามวัตถุ/สิ่งมีชีวิต
วันนี้ ผมได้ทดลองอุปกรณ์ GPS Data Logger (USB) ร่วมกับอาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร (ดร.พิพัฒน์ สมภาร) เพื่อใช้ในการติดตามสิ่งมีชีวิต (ในกรณีนี้ เราติดตามพฤติกรรม "กระบือ" หรือ "ควาย") เหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยด้านปศุสัตว์ โดยใช้ จีพีเอส บันทึกข้อมูลเส้นทางโดยระบุตำแหน่งตัวระบุตำแหน่งสิ่งมีชีวิต (ควาย) นั้นๆ โดยรับตำแหน่งจากดาวเทียม GPS แล้วบันทึกไว้ในหน่วยความจำของเครื่องได้ไม่ต่ำกว่า 50,000 จุด
และสามารถ download ข้อมูลใน Data Logger เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ด้วยพอร์ต USB เพื่อทำการศึกษาหรือวิเคราะห์พฤติกรรมสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ได้อย่างสะดวก
เมื่อเปิดใช้งานและติดตั้งเข้ากับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ เครื่องจีพีเอส จะบันทึก วัน เวลา ความเร็ว ความสูง และพิกัดตำแหน่ง ตามช่วงเวลาที่ตั้งไว้ ข้อมูลที่บันทึกมาทั้งหมดสามารถถ่ายโอนไปยังคอมพิวเตอร์ได้โดยง่ายเพื่อตรวจ สอบวิเคราห์ข้อมูลการเดินทาง เมื่อต้องการดูบันทึกย้อนหลัง สามารถเชื่อต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ทางพอร์ต USB แล้วถ่ายโอนข้อมูลด้วย Software ที่ให้มาด้วย สามารถบันทึกจัดเก็บได้หลายรูปแบบ เช่น CSV, TXT, และ KML และอื่นๆ แต่เท่าที่นำมาใช้ในงาน GIS ก็สำคัญเพียงไม่กี่ format
สามารถดูข้อมูลเส้นทางที่บันทึกมา ตรวจสอบผลได้ทันทีหลัง downlaod บน Google Map ว่าอยู่ตำแหน่งใดบนภาพ และยังสามารถส่งไปแสดงผลบน Google Earth ได้ทันที
และยังสามารถใ ช้เป็น GPS mouse สำหรับโน๊ตบุคได้อีกด้วย
และเราสามารถใช้ Software ที่แถมมาในการกำหนด Option หรือทางเลือกในการบันทึกค่าพิกัดได้ถึง 3 รูปแบบ (แบบ A, B, C)
และสามารถกำหนดให้ไม่ต้องบันทึกค่าในกรณีที่ สิ่งมีชีวิตนั่ง หรือนอนอยู่กับที่นานๆ
หรือสามารถกำหนดให้ไม่ต้องบันทึกค่าในกรณีที่สิ่งมีชีวิตอยู่ห่างจากจุดเดิมไม่เกินในระยะที่กำหนด ก็ได้เช่นกัน (แต่อันนี้น่าจะเหมาะสำหรับติดตามรถยนต์มากกว่า)
สมาชิกที่สนใจ ก็ลองสอบถามดูได้ เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการศึกษาวิจัยต่อไปครับ
โครงการอบรมระบบภูมิสารสนเทศ ประจำปี 2551 : กย-ตค
โครงการอบรมระบบภูมิสารสนเทศ ประจำปี 2551 : กย-ตค
ศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กำหนดจัด คอร์สฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้น
ดูรายละเอียดคอร์สอบรมที่ [51train02.pdf]
ใบสมัคร [51form_train02.pdf]
จดหมายเชิญ [51b_letter.pdf]
ในการฝึกอบรมครั้งนี้ขอสงวนสิทธิ์ในการ รับผู้เข้าฝึกอบรม จำนวนจำกัด (1 ท่าน/เครื่อง)
เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมให้มากที่สุด
รีบสมัครด่วน รับจำนวนจำกัด
ปราสาทตาเมือนธม ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ดูด้วย Google Earth
ปราสาทตาเมือน ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ดูด้วย Google Earth
กลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ที่บ้านตาเมียง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร
ตามรายทางสู่เมืองพระนครของขอม ในอดีตยังไม่มีความรับรู้ในเรื่องพรหมแดนต่างประเทศ มีแต่เพียงแนวทิศเขาดงเร็ก เป็นพรหมแดนธรรมชาติที่กั้นผู้คนสองดินแดนไว้ คนโบราณมมมีการใช้เส้นทางผ่าช่องเขาที่มีอยู่ตลอดแนว ในบางช่องเขามีการสร้างปราสาทหินขนาดเล็ก เช่น ช่องไชตะกูมีปราสาทแบแบก แต่สำหรับที่ช่องตาเมือนหรือตาเมียงนี้มีลักษณะพิเศษคือ มีปราสาทหินสามหลังอยู่ใกล้ๆกัน เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก เรียกว่ากลุ่มปราสาทตาเมือน โดยปราสาทแต่ละหลังมีขนาดและประโยชน์ที่ใช้สอยแตกต่างกันไป
ปราสาทสด๊อกก๊อกธม ในพื้นที่ประเทศไทย ดูจาก Google Earth
ปราสาทสด๊อกก๊อกธม ในพื้นที่ประเทศไทย ดูจาก Google Earth
ปราสาทสด๊อกก๊อกธม
เป็นโบราณสถานประกอบด้วยองค์ประสาท 3 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำล้อมรอบ มีกำแพง 2 ชั้น ชั้นนอกทำด้วยศิลาแลง ชั้นในทำด้วยหินทราย ตัวปราสาทก่อด้วยหินทรายมีโคปุระ หรือซุ้มประตูเหลือเพียงด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเท่านั้น
ตำบลตำบลโคกสูง กิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
ถ้าเราดูจาก Google Earth บริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา สามารถเห็นในภาพ
ลองเข้าไปสำรวจที่ พิกัดภูมิศาสตร์
เขาพระวิหาร มรดกโลก สู่ GoogleEarth
มุมมองการทดลองนำเข้าข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมสู่ GoogleEarth บริเวณพื้นที่เขาพระวิหาร ที่เป็นประเด็นที่สนใจกันทั่วไป
ในบทความนี้เป็นแนวทางในการนำแนวคิดไปใช้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
เขาพระวิหาร มรดกโลก ที่สามารถนำเข้าสู่โปรแกรม Google Earth ได้อย่างไม่ยากเย็น ซึ่งไม่ได้เน้นถึงความแม่นยำสูงมากนัก แต่ก็มีมาตราส่วนที่ดีเทียบเท่าแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หรือดีกว่า เพราะมีการตรวจสอบด้วยฐานข้อมูล 1:50,000 และเราสามารถเห็นพื้นที่ซ้อนทับที่เป็นหัวข้อข่าวจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ดังรูปล่างขวา
โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์” ปี 2551
ศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมบริการวิชาการสังคม ให้กับครูภูมิศาสตร์ ระดับมัธยมต้น และมัธยมปลาย ให้ได้รับความรู้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์ โดยเน้นความรู้ รีโมทเซนซิง จีพีเอส และจีไอเอส เบื้องต้น ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อแสดงผลแผนที่ และการอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์ และการจัดทำแผนที่โลก และแผนที่ประเทศไทย เพื่อสอนนักเรียน และการใช้งาน GPS และ Google Earth ซึ่งมีครูภูมิศาสตร์เข้าร่วม 45 คน จาก 30 โรงเรียน และในการฝึกอบรมครั้งนี้มี สื่อการสอน PowerPoint และ CAI และโปรแกรม GIS สำหรับครูที่จะนำไปใช้สอนระบบภูมิสารสนเทศเบื้องต้น และปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ผลิตแผนที่เพื่องานภูมิศาสตร์ ได้อีกด้วย
โครงการฝึกอบรมหลักสูตร
"เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์" ปี 2551
ระยะเวลาในการอบรม
จำนวน 5 วัน
รุ่นที่ 1 วันที่ 21 – 25 กรกฎาคม 2551
งบประมาณสนับสนุนจาก
สสวท.
โดยครูผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่เสียค่าในการฝึกอบรมครั้งนี้
gis2me20080710
สวัสดีครับท่านสมาชิกทุกท่าน
ในช่วงเดือนพ.ค. และมิ.ย. ที่ผ่านมานี้ตารางเต็มไปด้วยงานวิจัยที่รับมาเพื่อเพิ่มศักยภาพของนักวิจัยในทีมงานมากขึ้นทั้งด้าน รีโมทเซนซิงและจีไอเอส และเพิ่งเคลียร์งานฝึกอบรมไปตามหน่วยงานต่างๆ ซึ่งได้แก่ กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 4 คอร์ส (พื้นฐาน 3 – ประยุกต์ 1) และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 1 คอร์ส และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง จำนวน 1 คอร์ส ทำให้ทีมงานวิจัยภารกิจค่อนข้างเต็ม แต่เป็นการเพิ่มประสบการณ์ ทั้งด้าน Training และ Research ให้กับทีม ก็คุ้มค่ามาก
กำหนดการฝึกอบรมประจำปี 2551 นี้ก็เพิ่งคลอดออกมาได้แล้ว สามารถเข้าดูได้ในรายละเอียด [เว็บลิงค์]
สำหรับ สมาชิกใหม่ แวะเข้าไปชม พื้นฐานการใช้โปรแกรม ArcGIS 9.2 ทาง รศ.สุเพชร ได้จัดทำขึ้น ขณะนี้ ได้ ออน์ไลน์ผ่านเว็บไซต์แล้ว สำหรับสมาชิกลงทะเบียนเข้า Log-in เข้าใช้งานได้ ในหมวดเรียนรู้การใช้โปรแกรม
รศ.สุเพชร จิรขจรกุล
========================================================