เขาพระวิหาร มรดกโลก สู่ GoogleEarth

มุมมองการทดลองนำเข้าข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมสู่ GoogleEarth บริเวณพื้นที่เขาพระวิหาร ที่เป็นประเด็นที่สนใจกันทั่วไป

ในบทความนี้เป็นแนวทางในการนำแนวคิดไปใช้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

เขาพระวิหาร มรดกโลก ที่สามารถนำเข้าสู่โปรแกรม Google Earth ได้อย่างไม่ยากเย็น ซึ่งไม่ได้เน้นถึงความแม่นยำสูงมากนัก แต่ก็มีมาตราส่วนที่ดีเทียบเท่าแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หรือดีกว่า เพราะมีการตรวจสอบด้วยฐานข้อมูล 1:50,000 และเราสามารถเห็นพื้นที่ซ้อนทับที่เป็นหัวข้อข่าวจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ดังรูปล่างขวา

   prawiharn006

ซึ่งรายละเอียดรูปหัวข้อข่าวจากเดลินิวส์ ที่แต่ละหมายเลขบนภาพถ่ายจากดาวเทียมนั้นมีความหมายตามหัวข้อข่าวด้านล่างนี้

prawiharn005   prawiharn004

ในทีมศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีความสนใจในการนำระบบภูมิสารสนเทศมาติดตามการศึกษาในครั้งนี้ ก็ทำการทดลองจัดหาภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณเขาพระวิหาร จากฐานข้อมูลเครือข่าย เช่น PointAsia.com, NASA World Wind, GoogleEarth หรือ Digital Thailand ที่ผู้สนใจต้องการ

หรืออาจจะเป็นภาพที่หาได้จะเป็นภาพจากการ Scan ด้วยเครื่องมือในห้องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะได้ภาพที่ไม่มีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังรูป

ซึ่งนักวิจัยสามารถประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลที่อยู่ต่างระบบเข้าด้วยกัน

จากนั้นนักวิจัยจะต้องทำการหา GCPs หรือตำแหน่งอ้างอิงของ landmark บนภาพให้ได้ จากนั้นก็ทำการ Geometric Correction ด้วยโปรแกรมที่ถนัด ที่สำคัญ ผู้วิจัย ต้องคำนึงถึงค่า X,Y ที่ได้รับว่าอยู่ในระบบ projection แบบ UTM, มีค่า Datum แบบใด ระหว่าง Indian 1975 หรือ WGS 1984, และท้ายสุด ตำแหน่งที่สถานที่เราสนใจอยู่ในโซนใด ระหว่าง Zone 47, หรือ Zone 48

ในที่นี้เขาพระวิหาร จะอยู่ในระบบ UTM _ WGS 1984 _ Zone 48

เมื่อนำเข้าสู่ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ได้แล้ว ก็สามารถ ที่จะทดสอบความถูกต้อง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในระดับหนึ่งว่าสามารถทำงาน

โดยในที่นี้ทดลองใช้งานด้วยโปรแกรม GIS และฐานข้อมูล GIS เขตการปกครองมาตราส่วน 1:50,000 ตามที่หน่วยงานมีอยู่ (ในที่นี้ทดลองใช้ด้วยโปรแกรม ArcGIS 9.2 ซึ่งสามารถปรับคำนวณข้อมูลอัตโนมัติในรูปแบบ Projection on the Fly

และจากนั้นผู้วิจัยก็สามารถนำเข้าสู่โปรแกรม Google Earth แล้วทำการทดสอบระบบ โดยนำมาแสดงในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ผลลัพธ์ที่ได้ ก็แสดงผลได้น่าพอใจในระดับหนึ่ง

เมื่อเทียบกับแหล่งข้อมูลที่ได้มีนักวิจัยท่านอื่น ที่จัดทำมาดังรูป

หมายเหตุ *** พิกัดภูมิศาสตร์ที่ใช้นี้เป็นค่าโดยประมาณ ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงในทางกฎหมาย เนื่องจากยังไม่ได้นำไปตรวจสอบความถูกต้องเชิงตำแหน่ง ด้วยระบบ GPS เพราะเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว

ถ้าเราได้เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศ แล้วได้ทดลองทำดู มีอะไรใหม่ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อีกหลากหลาย ดังนั้นเราจะเห็นว่า ในโลกไร้พรมแดนนี้ เริ่มมีสิ่งใหม่ๆ ที่ให้เราเรียนรู้กันต่อไป

และต้องมีความพยายามในการทดสอบ ทดลอง เพื่อให้ได้คำตอบ

Comments are closed.

ข่าวสารย้อนหลัง
Who's Online
4 visitors online now
2 guests, 2 bots, 0 members
Powered by Visitor Maps