โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์” ปี 2551

ศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมบริการวิชาการสังคม ให้กับครูภูมิศาสตร์ ระดับมัธยมต้น และมัธยมปลาย ให้ได้รับความรู้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์ โดยเน้นความรู้ รีโมทเซนซิง จีพีเอส และจีไอเอส เบื้องต้น ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อแสดงผลแผนที่ และการอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์ และการจัดทำแผนที่โลก และแผนที่ประเทศไทย เพื่อสอนนักเรียน และการใช้งาน GPS และ Google Earth ซึ่งมีครูภูมิศาสตร์เข้าร่วม 45 คน จาก 30 โรงเรียน และในการฝึกอบรมครั้งนี้มี สื่อการสอน PowerPoint และ CAI และโปรแกรม GIS สำหรับครูที่จะนำไปใช้สอนระบบภูมิสารสนเทศเบื้องต้น และปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ผลิตแผนที่เพื่องานภูมิศาสตร์ ได้อีกด้วย

โครงการฝึกอบรมหลักสูตร

"เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์" ปี 2551

ระยะเวลาในการอบรม

จำนวน 5 วัน

รุ่นที่ 1 วันที่ 21 – 25 กรกฎาคม 2551

งบประมาณสนับสนุนจาก

สสวท.

โดยครูผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่เสียค่าในการฝึกอบรมครั้งนี้

วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ให้กับครู อาจารย์ผู้สอนวิชาภูมิศาสตร์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนับเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเป็นผู้เผยแพร่ความรู้แก่นักเรียน

2. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับครู อาจารย์ผู้สอนวิชาภูมิศาสตร์ในด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ได้เรียนรู้หลักการ กระบวนการ ขั้นตอน และโปรแกรมต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนมากขึ้น

3. เพื่อเป็นการนำความรู้เผยแพร่สู่สังคม โดยมีการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติ อันจะก่อให้เกิดความรู้จากการฝึกปฏิบัติให้แก่ครู อาจารย์ ไปในเวลาเดียวกัน

เนื้อหาหลักประกอบด้วย เทคโนโลยี 3S

ซึ่งมีเนื้อหาโดยสังเขป

1. ความรู้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

2. หลักการเทคโนโลยีสำรวจข้อมูลระยะไกล รีโมทเซนซิง และปฏิบัติการรีโมทเซนซิงพื้นฐาน การแปลตีความภาพ และการผสมสีช่วงคลื่นเพื่อการแปลและตีความ

3. หลักการเทคโนโลยีกำหนดตำแหน่งพิกัดบนโลก จีพีเอส และปฏิบัติการนำเข้าข้อมูลจีพีเอสพื้นฐาน และการจัดทำฐานข้อมูลที่ได้จากจีพีเอส

4. หลักการเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และปฏิบัติการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การแสดงผล การสืบค้น (Query) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เบื้องต้น

รูปแบบ/วิธีดำเนินการ

ขั้นตอนการดำเนินการ มีดังนี้

1. การบรรยายภาคทฤษฎี

2. การฝึกปฏิบัติโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 คน ต่อ 1 เครื่อง

3. การฝึกปฏิบัติการสนามด้วยอุปกรณ์จีพีเอส

การบรรยาย

วิทยากรและอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒินำเสนอในลักษณะหลักการ แนวคิด วิธีการ และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งเปิดโอกาสให้วิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรม ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและถามคำถามที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน

การปฏิบัติการ

ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม ได้นำความรู้ที่ได้ในภาคบรรยายมาฝึกปฏิบัติโดยใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศที่ทันสมัย เช่น ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดปานกลาง และรายละเอียดสูง ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประเทศไทย และข้อมูล GIS ทั่วโลก โดยใช้โปรแกรม (Software) ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ รวมทั้งฝึกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่อง GPS

ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้รับ ตำรา และ DVD ROM (สื่อการสอน CAI ฐานข้อมูล GIS ทั่วโลก และประเทศไทย) เพื่อนำไปใช้ประกอบการสอนให้กับนักเรียน ในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การปฏิบัติการสนาม

ฝึกปฏิบัติการสำรวจพิกัดภูมิศาสตร์ด้วยจีพีเอส และการเก็บข้อมูลภาคสนามด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และฝึกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย การฝึกใช้เครื่อง GPS และปฏิบัติการข้อมูล เชิงพื้นที่ร่วมกับ RS และ GIS

วิธีประเมินผลโครงการ

ครู อาจารย์ผู้เข้ารับการอบรม ต้องผ่านการประเมินผลภายใต้ข้อกำหนดดังนี้

1. เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด

2. เข้าร่วมกิจกรรมในการศึกษาอบรมตามกระบวนการของหลักสูตร

3. ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้ครบถ้วน และมีผลงานผ่านตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

Leave a Reply

ข่าวสารย้อนหลัง
Who's Online
2 visitors online now
1 guests, 1 bots, 0 members
Powered by Visitor Maps