Author Archive
ม.ธรรมศาสตร์ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลครุภัณฑ์ด้วยระบบ GIS
ระบบบริหารจัดการข้อมูลครุภัณฑ์ด้วยระบบ GIS ภายใต้โครงการพัฒนาระบบข้อมูลครุภัณฑ์ด้วยระบบ GIS มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 30 มิถุนายน 2551 |
โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำนวตกรรมใหม่มาช่วยสนับสนุนงานการติดตามพัสดุโดยเฉพาะในหมวดครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เช่น ครุภัณฑ์ประจำอาคาร ให้เป็นไปได้สะดวกคือ การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems : GIS) ในการติดตามที่จัดเก็บ หรือที่ติดตั้งครุภัณฑ์เหล่านี้ โดยบูรณาการระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Database) การวางแผนและการบริหารการใช้พื้นที่ห้องในอาคารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ หรือห้องจัดเก็บครุภัณฑ์ ซึ่งมีความสำคัญและมีผลต่อการพัฒนาทางกายภาพของมหาวิทยาลัยในอนาคต เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่เป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นไปอย่างคุ้มค่า และได้ประสิทธิภาพเต็มที่ |
หน้าเว็บไซต์ http://gis.tu.ac.th/webcenter/ และคู่มือที่ http://gis.tu.ac.th/tu/user_manual.pdf |
รายละเอียดเกี่ยวกับระบบ
ระบบจัดการครุภัณด้วย GIS Version : 1.2
SOFTWARE
– ArcGIS Server 9.2
– MS SQL2005
รายละเอียดภาพถ่ายทางอากาศ
– ศูนย์ท่าพระจันทร์ : ภาพ Ortho ถ่ายวันที่ 24/08/2006
– ศูนย์ท่ารังสิต : ภาพ Ortho ถ่ายวันที่ 21/08/2006
– ศูนย์ท่าลำปาง : ภาพ Quickbird ถ่ายวันที่ 02/11/2006
– ศูนย์ท่าพัทยา : ภาพ Quickbird ถ่ายวันที่ 28/02/2005
เว็บไซต์ผลงานวิจัยด้านระบบภูมิสารสนเทศเพื่อชุมชนท้องถิ่นของม.นเรศวร
GISDSS@NU เป็นเวบไซต์ที่นำผลจากกระบวนการทำงานวิจันด้าน GIS-based DSS มาเผยแพร่แก่ผู้ใช้ประโยชน์งานวิจัย
GISDSS@NU เป็นกลุ่มทำงานทางวิชาการในสังคมมหาวิทยาลัยที่พยายามขยายสิ่งที่สั่งสมเรียนรู้สู่สังคม เพื่อแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับบุคคลอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มคนในรั้วมหาวิทยาลัย
GISDSS@NU เป็นสังคมการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นในภาคเหนือตอนล่าง โดยเชื่อมโยงองค์ความรู้ลงสู่แผนที่
ภายใต้การนำทีมโดย รศ.ดร.ชฎา ณรงค์ฤทธิ์
เข้าชมเว็บไซต์ได้ที่ http://www.map.nu.ac.th
คณะอักษรศาสตร์ CU รับสมัครอาจารย์ภูมิศาสตร์ 2 อัตรา
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับสมัครบรรจุพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ เพื่อปฏิบัติงานประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ จำนวน 2 อัตรา
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
โดยวุฒิปริญญาตรี ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือเงื่อนไขอื่นๆ กรุณาศึกษาในประกาศรับสมัครตำแหน่งนี้ [ ดูรายละเอียด ]
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
ดร.ศิริวิไล ธีระโรจนารัตน์
E-mail: foxykwan@gmail.com Tel . 02-2184824
สื่อช่วยสอน Quantum GIS
CAI (computer-assisted instruction ) ซึ่งราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติศัพท์ว่า “ซีเอไอ” หรือ “การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย” แต่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” ซึ่งมักอ้างอิงถึงซอฟแวร์ทางการศึกษาชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน CAI มีลักษณะเด่นสามประการคือ ประหยัด ได้ผล และฉลาด [http://www.thaicai.com/cai]
![]() |
สื่อสนับสนุนการสอนพื้นฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้ด้วยโปรแกรม Quantum GIS (QGIS) ได้ พัฒนาขึ้นมา สำหรับผู้สนใจ แต่ด้วยเหตุที่ไม่สามารถกระจาย แจกจ่ายอย่างทั่วถึง จึงจำเป็นต้องจัดทำเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์จีไอเอสทูมี แห่งนี้ เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก เอกสารประกอบการอบรม Quantum GIS ที่อาจารย์ณัฐพล จันทร์แก้ว ได้เรียบเรียงขึ้นมา
สื่อชุดนี้ได้ใช้ประกอบการฝึกอบรมในหลายๆ แห่ง และครูภูมิศาสตร์เพื่อใช้ประกอบการสอนนักเรียนมัธยมศึกษา สำหรับบนเว็บไซต์อาจจะมีขนาดเล็ก และไม่ชัดเจนด้วยข้อจำกัดทางเครือข่าย WWW จึงต้องขออภัย แต่ท่านสามารถเดินทางเข้ามารับชุดเต็มในงานฝึกอบรมหรือสัมมนาต่างๆ เช่น งาน GIS Day ที่จัดเป็นประจำทุกปี หรืองานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ฯ เป็นต้น ขอบคุณที่ติดตามผลงานศูนย์วิจัยครับ |
โปรแกรมช่วยเรียนรู้ Quantum GIS (Youtube)
สื่อสนับสนุนการสอนพื้นฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้ด้วยโปรแกรม Quantum GIS (QGIS) ได้ พัฒนาขึ้นมา สำหรับผู้สนใจ แต่ด้วยเหตุที่ไม่สามารถกระจาย แจกจ่ายอย่างทั่วถึง จึงจำเป็นต้องจัดทำเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์จีไอเอสทูมี แห่งนี้ เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก เอกสารประกอบการอบรม Quantum GIS ที่อาจารย์ณัฐพล จันทร์แก้ว ได้เรียบเรียงขึ้นมา และปัจจุบันได้ตัดต่อขึ้น Youtube ซึ่งสะดวกและง่ายต่อการเข้าถึงได้ทางอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
สื่อชุดนี้ได้ใช้ประกอบการฝึกอบรมในหลายๆ แห่ง และครูภูมิศาสตร์เพื่อใช้ประกอบการสอนนักเรียนมัธยมศึกษา
สำหรับบนเว็บไซต์อาจจะมีขนาดเล็ก และไม่ชัดเจนด้วยข้อจำกัดทางเครือข่าย WWW จึงต้องขออภัย แต่ท่านสามารถเดินทางเข้ามารับชุดเต็มในงานฝึกอบรมหรือสัมมนาต่างๆ เช่น งาน GIS Day ที่จัดเป็นประจำทุกปี หรืองานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ฯ เป็นต้น
ทางหน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากท่านได้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม
และห้ามนำไปใช้ในเชิงการค้าโดยเด็ดขาด ต้องได้รับความยินยอมจากหน่วยวิจัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษรก่อน
ขอบคุณที่ติดตามผลงานศูนย์วิจัยครับ
QGIS รวมทุกตอนใน Youtube
http://www.youtube.com/playlist?list=PL9F2BBD9268DE7FA3
QGIS ตอนที่ 1 ภาพรวมโปรแกรม QGIS
http://youtu.be/ly6kB0w7MZA
QGIS ตอนที่ 2 การแสดงผลข้อมูล GIS (video#1/2)
http://youtu.be/diwNUdkLlU0
QGIS ตอนที่ 2 การแสดงผลข้อมูล GIS (video#2/2)
http://youtu.be/FdRNl-fgxxs
QGIS ตอนที่ 3 การควบคุมการซูมแผนที่ (video#1/2)
http://youtu.be/dvu_gN5cxPc
QGIS ตอนที่ 3 การควบคุมการซูมแผนที่ (video#2/2)
http://youtu.be/Zv4b9isOF54
QGIS ตอนที่ 4 การแสดงผลข้อมูลแรสเตอร์ (video#1/2)
http://youtu.be/SbG4Uv194cg
QGIS ตอนที่ 4 การแสดงผลข้อมูลแรสเตอร์ (video#2/2)
http://youtu.be/Br36BSrxFoo
QGIS ตอนที่ 5 การแสดงผลข้อมูลเวกเตอร์ (video#1/2)
http://youtu.be/-U-CvUFOvCw
QGIS ตอนที่ 5 การแสดงผลข้อมูลเวกเตอร์ (video#2/2)
http://youtu.be/vUVHN2-tW6U
QGIS ตอนที่ 6 การตรึงพิกัดแผนที่ Georeferencing (video#1/3)
http://youtu.be/eAWTzvEo5sA
QGIS ตอนที่ 6 การตรึงพิกัดแผนที่ Georeferencing (video#2/3)
http://youtu.be/1U8LIIOKML0
QGIS ตอนที่ 6 การตรึงพิกัดแผนที่ Georeferencing (video#3/3)
http://youtu.be/VIM0Ln0O4e4
QGIS ตอนที่ 7 เรียนรู้การดิจิไทซ์ Head -up Digitizing (video#1/3)
http://youtu.be/pFyOQvHjwS4
QGIS ตอนที่ 7 เรียนรู้การดิจิไทซ์ Head -up Digitizing (video#2/3)
http://youtu.be/kLAKR1zg5Ds
QGIS ตอนที่ 7 เรียนรู้การดิจิไทซ์ Head -up Digitizing (video#3/3)
http://youtu.be/aFg3KbEc2DU
QGIS ตอนที่ 8 เรียนรู้ข้อมูลตาราง Attribute Table
http://youtu.be/_ETFosmLY-M
QGIS ตอนที่ 9 วิธีการกำหนดระบบ Projection Datum Zone ให้ข้อมูล GIS
http://youtu.be/H-Zc47g6CnU
QGIS ตอนที่ 10 การทำแผนที่ Layout
http://youtu.be/-dE3a72Iho8
รับสมัครเข้าร่วมอบรมโครงการต้นกล้าอาชีพ
รับสมัครเข้าร่วมอบรมโครงการต้นกล้าอาชีพ ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเกาะจันทร์ เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
ต้นกล้าอาชีพ โครงการฝึกอบรมอาชีพและสร้างงานให้แก่ผู้ว่างงาน ผู้กำลังจะถูกเลิกจ้างงาน และนักศึกษาจบใหม่จำนวน 500,000 คน เพื่อลดปัญหาการว่างงาน อีกทั้งเป็นการสนับสนุนอาชีพอิสระ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานรากในอนาคต
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเกาะจันทร์ เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ
สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง รับสมัครกลุ่มคนประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ว่างงาน
กลุ่มผู้ที่อยู่ในข่ายจะถูกเลิกจ้างงาน กลุ่มผู้ที่สำเร็จการศึกษาใหม่ ที่ยังรองานทำ
เข้าร่วมอบรมในโครงการต้นกล้าอาชีพหลักสูตร
อบรมเดือนละ 2 รุ่น เริ่มอบรมเดือนพฤษภาคม 2552 สิ้นสุดเดือน มิถุนายน 2552
(คลิกอ่านรายละเอียดด้านล่าง)
ThaiMapSearch สืบค้นสถานที่ในประเทศไทยร่วมกับ GoogleMap
สมาชิก GIS2me ที่ต้องเดินทางบ่อยๆ มักพบกับปัญหาในการสืบค้นหาสถานที่สำคัญ ถ้าจะต้องไปประชุมสัมมนา หรือดูงานในสถานที่ต่างๆ ลองเข้าไปใช้งาน ThaiMapSearch http://www.thaimapsearch.com/
ThaiMapSearch Dot Com ให้บริการสืบค้นข้อมูลและ แผนที่ในประเทศไทย และสามารถเพิ่มตำแหน่งที่ตั้งของท่านได้ ส่งต่อให้เพื่อนหรือคนรู้จักได้อีกด้วย ให้บริการ สืบค้น แผนที่ประเทศไทย , แผนที่จังหวัด , แผนที่ท่องเที่ยว , หรือแผนที่สถานที่สำคัญ เช่น แผนที่โรงพยาบาล แผนที่สนามกอล์ฟ แผนที่โรงแรม หรือ แผนที่รีสอร์ท แผนที่ปั้มแก๊ส LPG / NGV อีกทั้งแผนที่อื่นๆ ที่จะเพิ่มขึ้นในโอกาสต่อไป
แผนที่ประเทศไทย แสดงตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สำคัญๆ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศ
จราจรอัจฉริยะ รายงานสภาพจราจรบน Google Map
ระบบการรายงานสภาพการจราจรที่พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้ใช้งานฟรี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการใช้ถนนในกทม. และปริมณฑล ผ่านระบบ Google Map และยังเขื่อมโยงกับ CCTV กล้องวงจรปิด สามารถเข้าใช้งานได้ที่ http://traffy.nectec.or.th
สำหรับ จาวา http://traffy.nectec.or.th/jtraffy
สำหรับ ซิมเบียน http://traffy.nectec.or.th/mtraffy
สำหรับ วินโดว์โมบาย http://traffy.nectec.or.th/ptraffy
คู่มือเรียนรู้พื้นฐานการใช้โปรแกรม Quantum GIS (QGIS)
หลังจากที่ศูนย์วิจัยฯ ได้พยายามจัดทำคู่มือการเรียนรู้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในหลายๆ โปรแกรม และในขณะนี้ ทางศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้จัดทำคู่มือโปรแกรมฟรี ที่สามารถใช้งานด้าน GIS / Remote Sensing พื้นฐานระดับหนึ่ง ที่สะดวกต่อการใช้งาน สำหรับหน่วยงานที่ยังไม่มีงบประมาณจัดซื้อโปรแกรม หรือไม่ต้องการลงทุนที่สูง และที่สำคัญมีผู้พัฒนา (สวทช.) ให้เป็นโปรแกรมเมนูภาษาไทย สะดวกต่อการใช้งานสำหรับเยาวชน และผู้สนใจทั่วไปด้วย
โดยคู่มือการใช้งานโปรแกรม Quantum GIS หรือที่เรียกกันว่า QGIS ฉบับนี้ได้พัฒนาขึ้นมาโดย อาจารย์ณัฐพล จันทร์แก้ว ศูนย์วิจัยฯ จึงได้นำมาเผยแพร่เพื่อให้ผู้สนใจ นักวิชาการ และนักศึกษา ได้นำไปประยุกต์ใช้ในงานของตนให้เหมาะสม
แต่ด้วยเวลาที่จำกัดในการพัฒนา จึงอาจจะมีข้อบกพร่องในเอกสารชุดนี้บ้าง ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย
ขอบคุณครับ
อ.ณัฐพล
เชิญครูภูมิศาสตร์ เข้าอบรม “เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาภูมิศาสตร์”
ขอเรียนเชิญ ครู อาจารย์ ที่สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย ในรายวิชาด้านภูมิศาสตร์ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เทคโนโลยีสำรวจข้อมูลระยะไกล (RS) ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม (GPS) หรือวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฝึกอบรม
งบประมาณ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ระยะเวลาในการอบรม
จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 5 วัน
รุ่นที่ 1/52 วันที่ 20 – 24 เมษายน 2552 [สงวนสิทธิ์งดรับเพิ่ม ]
รุ่นที่ 2/52 วันที่ 1 – 5 มิถุนายน 2552 [เต็มแล้ว สงวนสิทธิ์งดรับเพิ่ม ]
คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชนบทคว้า 2 รางวัลรองชนะเลิศบทความวิจัย “การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน”
คณาจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2552
เรื่อง “การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน” ใน ระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2552
ณ โรงแรมโฆษะ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
โดยในการประชุมครั้งนี้ ได้นำเสนอ การประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานพัฒนาท้องถิ่นไทย ในด้านพลังงาน และด้านสาธารณสุข โดย ได้รับรางวัล รองชนะเลิศ จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการวางแผนพลังงานระดับท้องถิ่น (Geo-Informatics for Local Energy Planning)
โดย .. ธนิตน์ เรืองรุ่งชัยกุล และ สุเพชร จิรขจรกุล
ได้รับรางวัล รองชนะเลิศการนำเสนอบทความ
หัวข้อการจัดการพลังงานชุมชน พลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก
ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์พื้นที่ให้บริการสาธารณสุขท้องถิ่น กรณีศึกษา อบต.วังตะกู อ.เมือง จ.นครปฐม
Geo-Informatics for Local Health care service area analysis support: case study on Wanktaku TAO, Amphoe Muang, NakornPhathom Province
โดย… รศ. สุเพชร จิรขจรกุล, อาจารย์ณัฐพล จันทร์แก้ว และผศ.ดร.ธนิตน์ เรืองรุ่งชัยกุล
ได้รับรางวัล รองชนะเลิศการนำเสนอบทความ
หัวข้อการพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพ
โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “เรียนรู้พื้นฐานการสร้างแผนที่ทรัพยากรชายฝั่งด้วยโปรแกรม ArcGIS : ArcView เบื้องต้น”
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมมือด้านวิชาการในการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศศาสตร์ ให้กับบุคลากรของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหน่วยงานราชการ นักวิชาการ ประชาชนผู้สนใจ ที่อยู่ในพื้นที่โครงการ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ รวมทั้งพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนที่ทรัพยากรชายฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดโครงการอบรม "เรียนรู้พื้นฐานการสร้างแผนที่ทรัพยากรชายฝั่งด้วยโปรแกรม ArcGIS : ArcView เบื้องต้น" ขึ้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา 3 วัน ซึ่ง เพื่อสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการแสดงผลข้อมูล สืบค้น และวิเคราะห์ทรัพยากรชายฝั่ง
โครงการบริการวิชาการสังคม “เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานโลจิสติกส์ อบต.สรรพยา จ.ชัยนาท”
ศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท จัดโครงการบริการวิชาการสู่สังคม "เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานโลจิสติกส์ อบต.สรรพยา จ.ชัยนาท" ขึ้น ซึ่งเป็นการเรียนภาคทฤษฎีควบคู่ไปกับการปฏิบัติการ และสามารถใช้งานโปรแกรมทางด้านระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์เพื่อการจัดการฐานข้อมูลในระบบได้ ในระหว่างวันที่ 13-14 พ.ย. 2551
โดยได้จัดฝึกอบรมในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี