Author Archive
ข้อมูลดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand)
ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand)
ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) ดำเนินงานโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ กรมแผนที่ทหาร และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและจัดเตรียมข้อมูล การสำรวจโลกผ่านซอฟต์แวร์ NASA World Wind ซึ่งเป็นซอฟแวร์รหัสเปิด ให้ Source Code
โดยทีมพัฒนาได้นำเข้าข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ประเทศไทยที่ทันสมัยและมีรายละเอียดสูง รวมทั้งข้อมูล ต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของคนไทย
ข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนด์แซทที่บันทึกภาพในปี 2549 ทั่วประเทศไทย, ขอบเขตการ ปกครองระดับจังหวัดและอำเภอ ที่ตั้งอำเภอ , เส้นทางคมนาคม และสถานที่สำคัญอื่นๆ รวมถึงข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียด 2.5 เมตร ทั่วประเทศไทย
ลักษณะโดดเด่นอีกประการหนึ่งของ ดิจิทัลไทยแลนด์ คือ สามารถทำงานแบบ ออฟไลน์เพื่อให้ผู้ที่ สนใจเรียนรู้ได้เข้าถึงเทคโนโลยีสำรวจโลกจากห้วงอวกาศทุกที่ ทุกเวลาโดยไร้ข้อจำกัดทางอินเตอร์เน็ต
ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) เป็นสื่อการเรียนรู้ภูมิสารสนเทศในระดับนักเรียนรวมทั้งเผยแพร่เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศที่ทันสมัย เข้าใจง่าย โดยได้เชื่อมโยงข้อมูลเชิงบรรยาย สถานที่สำคัญต่างๆ เช่น เขื่อน ลักษณะภูมิประเทศและภูมิสัณฐานที่โดดเด่น วัดสำคัญๆ อุทยานแห่งชาติและอุทยานประวัติศาสตร์รวมถึงสามารถจำลอง การบินไปจากจุดที่สนใจไปยังอีกจุดหนึ่งในลักษณะภาพสามมิติเสมือนจริง
ละติจูด ลองจิจูด
คัดลอกจาก : อิสริยา เลาหตีรานนท์ ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ อังคารที่ 20 เมษายน 2553
“เส้นรุ้ง” กับ “เส้นแวง” เป็นคำที่หลายๆ ท่านเคยเรียนในสมัยอยู่โรงเรียน ท่องคำว่า “รุ้งตะแคง แวงตั้ง” และความหมายที่ตรงกันคือ เส้นรุ้งคือละติจูด และเส้นแวงคือลองจิจูด
ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์และให้รายละเอียดของละติจูด ลองจิจูด ไว้ในพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ไว้ดังนี้
ละติจูด (Latitude) เป็นระยะทางเชิงมุมที่วัดไปตามขอบเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ โดยนับ 0 (ศูนย์) องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้ จนถึง 90 องศาที่ขั้วโลกทั้งสอง หรือเป็นมุมแนวตั้งที่ศูนย์กลางโลกระหว่างเส้นรัศมีของโลกที่ผ่านจุดซึ่งเส้นเมริเดียนตัดเส้นศูนย์สูตรกับเส้นรัศมีที่ผ่านตำบลที่ตรวจ
ลองจิจูด (Longitude) เป็นระยะทางเชิงมุมระหว่างเมริเดียนกรีนิช กับเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจซึ่งวัดไปตามขอบของเส้นศูนย์สูตร หรือขอบของเส้นขนานละติจูด หรือเป็นมุมแนวระดับที่แกนโลกในระหว่างพื้นของเมริเดียนกรนิชกับพื้นของเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ ตามปรกติวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา โดยนับ 0 (ศูนย์) องศาจากเมริเดียนกรนิชจนถึง 180 องศาไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของเมริเดียนกรีนิช
ขอร่วมไว้อาลัยแด่วีรบุรุษผู้กล้า จ่าสมเพียร ผู้ยิ่งใหญ่ในใจเรา
บทสัมภาษณ์สุดท้าย พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา…อยากให้ผู้บังคับบัญชารับรู้ว่าพวกเราทำงานกันอย่างไร
[ลิงค์ข่าว1]
[ลิงค์ข่าว2]
[ลิงค์ข่าว3]
วีรบุรุษเช่นนี้ที่คนไทยขาดแคลน อยากให้มีวีรบุรุษผู้เสียสละเช่นนี้มากๆ ประเทศไทยเราจะได้ไม่เดือนร้อนเช่นนี้
ในนามศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ขอจารึกนามวีรบุรุษผู้เสียสละ ผู้กล้า
พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา. อันไม่มีสิ่งใดจะมาทดแทน ชีวิต ที่สละแล้วให้แด่ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ต้นแบบแห่งความพากเพียร เสียสละ และต้นแบบแห่งผู้ปิดทองหลังพระ จนถึงวินาทีสุดท้ายแห่งชีวิต ในปัจจุบันนี้ จะมีกี่คนที่พูดว่ารักชาติ ศาสน์ กษัตริย์แล้วลงมือทำให้ดู เช่นเขา
หลับเถิดผู้กล้าแห่งวีรชนไทย ผู้ยิ่งใหญ่ในใจเรา ตลอดกาล
รำลึกถึงท่าน….เทคโนโลยีชนบท
ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จัดโครงการอบรมให้กับครูภูมิศาสตร์
ภาควิชาภูมิศาสตร์ ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการอบรมครูภูมิศาสตร์ 2 โครงการ คือ
(1) การอบรมเรื่อง “เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์: ความรู้เบื้องต้นเพื่อการเรียนการสอนระดับมัธยม” สำหรับครู อาจารย์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 26-27 เมษายน 2553
(2) การอบรมภาคปฏิบัติ เรื่อง “การใช้งาน GIS และ GPS เบื้องต้น” สำหรับบุคคลทั่วไป ครู อาจารย์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 28-30 เมษายน 2553
ดูรายละเอียดและดาวน์โหลด เอกสารการอบรมได้จาก website
http://www.arts.chula.ac.th/~geography/
http://www.arts.chula.ac.th/~asc/doc/gis-web.htm
สมัครและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-2184640
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม ครู อาจารย์ และผู้สอนทางด้านวิชาภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา และผู้สนใจ
รับสมัคร ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
การจำลองระดับน้ำท่วม โดยการพัฒนาของ NASA
การจำลองระดับน้ำท่วม โดยการพัฒนาของ NASA ได้จัดทำโปรแกรม simulation ระดับน้ำท่วมถึง ตั้งแต่ 0 ถึง 14 เมตร เราสามารถเลือกจำลองระดับน้ำท่วมถึงได้ และพื้นที่แต่ละทวีป ลองทดสอบระบบดู เผื่อเกิดแนวคิดในการประยุกต์ใช้งานระบบภูมิสารสนเทศในการป้องกันบรรเทาภัยธรรมชาติของประเทศไทย
ArcGIS Diagrammer เครื่องมือจัดการ GeoDatabase
ArcGIS Diagrammer เป็นเครื่องมือ script ที่น่าสนใจตัวหนึ่ง สำหรับเลือกใช้เพื่อสร้าง Geodatabase schema รวมถึงการแก้ไข และวิเคราะห์
Schema จะแสดงเป็นรูปแบบ Diagram เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขโครงสร้างได้สะดวกมากขึ้น (หน้าตาคล้ายคลึงกับการทำงานบน Microsoft Visual Studio)
ArcGIS Diagrammer เป็นเครื่องมือสนับสนุนการแก้ไขโครงสร้างไฟล์ที่ทำงานรูปแบบของ xml ซึ่งไฟล์ xml ในโปรแกรม ArcGIS สามารถสร้างขึ้นโดยคำสั่ง Export ใน ArcCatalog ที่ผู้ใช้ส่งออกมาเป็นไฟล์ XML ได้สะดวก หรือเมื่อแก้ไขเสร็จผู้ใช้นำเข้ามาใช้งานสร้างเป็น Geodatabase ได้ด้วยคำสั่ง Import ไฟล์ xml ได้เช่นกัน
ดูตัวอย่างที่ต่างประเทศได้ทำไว้ในรูปแบบ Video Clip
แหล่งข้อมูล : ArcGIS Diagrammer – Demonstration Video
สำหรับ script ที่จะโหลดเพื่อติดตั้งใช้งาน
“โครงการอบรม GIS เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” มี.ค. 53
“โครงการบริการสังคมระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” ช่วงเดือน มี.ค. 2553
ระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้รับผิดชอบงานการติดตามและประเมินทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในหน่วยงานของตนในรูปแบบแผนที่ทรัพยากร ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายๆ ระบบที่นิยมใช้งาน และผู้ใช้จำเป็นต้องได้รับความรู้และความเข้าใจถึงความสามารถของโปรแกรมที่ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถใช้งานในการแสดงผลฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หลักสูตรอบรม |
วัน เดือน ปี |
ค่าลงทะเบียน |
ยืนยันภายใน |
8 – 12 มี.ค.53 |
7,000 |
1 มี.ค.53 |
|
22 – 26 มี.ค.53 |
7,000 |
12 มี.ค.53 |
ดาวน์โหลดข้อมูลและแบบฟอร์ม 1. ใบสมัคร [ word_file ] [ pdf_file ] 2. [ จดหมายเรียนเชิญคอร์ส53 ] 3. [ แผนที่อาคารฝึกอบรม ] |
KM : การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในงานสาธารณสุข
ศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ได้จัดคอร์สฝึกอบรมหลักสูตร
“เรียนรู้พื้นฐานการสร้างแผนที่เพื่อสนับสนุนงานเฝ้าระวังอุบัติภัยและควบคุมโรค ด้วยโปรแกรม ArcGIS : ArcView เบื้องต้น”
ในระหว่าง วันที่ 21 – 25 ธันวาคม 2552
ผู้เข้าร่วม KM จาก
บุคลากรสายสาธารณสุข จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง โรงพยาบาลมาบตาพุด โรงพยาบาลบ้านฉาง เป็นต้น
รับสมัครสอบแข่งขันทุนปริญญาโท-เอก ของ สทอภ. 2553
ประกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุน สทอภ.
ภายใต้การดำเนินการโครงการพัฒนาดาวเทียม THEOS ประจำปีการศีกษา 2553
ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส
“โครงการบริการสังคมระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” เดือน ต.ค. 2552 – มี.ค. 2553
ระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้รับผิดชอบงานการติดตามและประเมินทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในหน่วยงานของตนในรูปแบบแผนที่ทรัพยากร ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายๆ ระบบที่นิยมใช้งาน และผู้ใช้จำเป็นต้องได้รับความรู้และความเข้าใจถึงความสามารถของโปรแกรมที่ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถใช้งานในการแสดงผลฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หลักสูตรอบรม |
วัน เดือน ปี |
ค่าลงทะเบียน |
ยืนยันภายใน |
รีโมทเซนซิง และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจัดทำแผนที่ทรัพยากร ขั้นพื้นฐาน |
26-30 ต.ค.52 |
7,000 |
16 ต.ค.52 |
11 – 15 ม.ค.53 |
7,000 |
4 ม.ค.53 |
|
1 – 5 มี.ค.53 |
7,000 |
22 ก.พ..53 |
ดาวน์โหลดข้อมูลและแบบฟอร์ม 1. ใบสมัคร [ word_file ] [ pdf_file ] 2. [ จดหมายเรียนเชิญคอร์ส2 ] |
คู่มือภาษาไทย ArcGIS 9.3.1 วางตลาดแล้ว
"เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 9.3.1"
ครอบคลุมทั้ง 9.0, 9.1, 9.2, 9.3 และ 9.3.1
และเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมาก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
และผู้ใช้งานระดับกลาง
ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ สุเพชร จิรขจรกุล
ISBN 978-974-300-882-5
ปีพิมพ์ : 1 / 2552
ขนาด (w x h) : 18.415 cm x 26.035 cm
หนา : 4.25 cm.
ปก/จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 936 หน้า
ราคาปกติ : 395 บาท
วางตลาดที่ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทุกสาขา http://www.chulabook.com |
ใน กทม. สั่งผ่านเว็บไซต์ ได้ส่วนลด (สำหรับต่างจังหวัดอาจสั่งที่ซีเอ็ดบุ๊ค เพื่อซื้อผ่านศูนย์หนังสือจุฬาฯ ได้) |
ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) [website] |
ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต และท่าพระจันทร์) [website] |
52อบรม GIS เพื่อการบริหารงานอปท. จังหวัดเลย
หน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้รับเกียรติจาก ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมมือทางวิชาการ
ในหลักสูตร "การจัดทำฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่องานพัฒนาแผนที่ภาษี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเลย"
ระหว่างวันที่ 20-24 กรกฎาคม 2552
ณ ห้องประชุม จังหวัดเลย
เพื่อพัฒนาความรู้ และศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน และการวางระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารและพัฒนาท้องถิ่น
“โครงการบริการสังคมระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” เดือน พ.ค.-กค.-สค. 52
ระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้รับผิดชอบงานการติดตามและประเมินทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในหน่วยงานของตนในรูปแบบแผนที่ทรัพยากร ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายๆ ระบบที่นิยมใช้งาน และผู้ใช้จำเป็นต้องได้รับความรู้และความเข้าใจถึงความสามารถของโปรแกรมที่ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถใช้งานในการแสดงผลฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หลักสูตรอบรม |
วัน เดือน ปี |
ค่าลงทะเบียน |
ยืนยันภายใน |
29 มิ.ย–3 ก.ค.52 |
7,000 |
22 มิ.ย.52 |
|
รีโมทเซนซิง และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจัดทำแผนที่ทรัพยากร ขั้นพื้นฐาน |
27–31 ก.ค.52 |
7,000 |
22 ก.ค.52 |
17 – 21 ส.ค.52 |
7,000 |
10 ส.ค.52 |