ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมกูเกิลเอิร์ธ

ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมกูเกิลเอิร์ธ

เมื่อรู้จักกับกูเกิลแมพ และกูเกิลเอิร์ธมาบ้างแล้ว หากมีความสนใจที่จะเสาะหามาติดตั้งไว้ในเครื่องก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยให้ดาว์นโหลดโปรแกรมกูเกิลเอิร์ธมาติดตั้งไว้ที่เครื่องโดยไปที่เวปเพจที่อ้างอิงไว้ด้านล่าง โดยพยายามดูให้ตรงกับคุณสมบัติ (Specification) ของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อความเหมาะสมและความรวดเร็วในการแสดงผลภาพถ่ายจากดาวเทียม

กูเกิลเอิร์ธมีหลายเวอร์ชั่นให้ผู้ใช้เลือก โดยสามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ มีทั้งเสียค่าใช้จ่ายรายปี และไม่คิดค่าใช้จ่าย
•  Google Earth เวอร์ชั่นนี้ทำไว้สำหรับใช้งานฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ โดยมีฟังก์ชั่นการทำงานพื้นฐาน ในการแสดงผลข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมได้ ย่อหรือขยายแผนที่ดูในสถานที่ที่ต้องการได้ปกติ ตลอดจนแสดงภาพสามมิติได้
•  Google Earth Plus  เวอร์ชั่นนี้ผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่าย 20 US$ ต่อปี โดยมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมในส่วนของการเชื่อมโยงการทำงานกับ GPS และสามารถตรวจสอบเส้นทางการเคลื่อนที่ได้ในแบบ real time และสามารถนำเข้าข้อมูลประเภทตารางที่มีตำแหน่งค่าพิกัดภูมิศาสตร์มา และทั้งยังสามารถวาดภาพสามมิติ แทรกลงบนภาพถ่ายดาวเทียม และสามารถจัดพิมพ์ภาพที่มีความคมชัดมากขึ้นกว่าแบบแรก
•  Google Earth Pro เวอร์ชั่นนี้ผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่าย 400 US$ ต่อปี โดยจะเพิ่มเติมฟังก์ชั่นการทำงานในการสร้างตำแหน่งพิกัดใหม่ และทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เพื่อสามารถนำไปเสนอในที่ประชุมหรือที่ต่างๆ ได้ สามารถพิมพ์ชื่อสถานที่และค้นหาง่ายขึ้น และสามารถซ้อนข้อมูลถนน ที่ตั้งสถานที่ลูกค้าในทางธุรกิจ โรงเรียน และอาคารสิ่งปลูกสร้างในรูปแบบ 3 มิติ ที่แสดงผลบนภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูง และผู้ใช้ยังสามารถนำเข้าข้อมูลแหล่งที่ตั้ง และใช้งานร่วมกันกับผู้ใช้อื่นๆ ในที่ทำงานเดียวกันได้ และยังมีฟังก์ชั่นในการส่งออกภาพถ่ายในรูปแบบภาพยนตร์ (Movies file) เพื่อแสดงการบินรอบๆ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เพื่อดูรอบๆ เมือง หรือจะจัดพิมพ์เป็นเอกสารหรือรายงานที่มีความคมชัดสูงก็สามารถทำได้ในเวอร์ชั่นนี้ โดยกูเกิลเปิดโอกาสให้ทดลองใช้ได้ 7 วัน
•  Google Earth Enterprise เวอร์ชั่นนี้ก็จะแพงขึ้นอีก โดยเวอร์ชั่นนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถนำระบบโปรแกรมกูเกิลเอิร์ธมาใช้ในบริษัท หรือองค์กร โดยทำงานร่วมกันกับข้อมูลของบริษัท ด้วยคำสั่ง ASP ในการส่งผ่านข้อมูลบนโปรแกรมกูเกิลเอิร์ธ โดยแบ่งเป็น 3 แบบคือ

  1. Google Earth Fusion  สามารถใช้งานร่วมกันกับข้อมูลขององค์กร โดยทำงานกับข้อมูลอื่นๆ เช่น
  1. ข้อมูลแรสเตอร์ (Raster) – ภาพถ่ายจากดาวเทียมอื่นๆ หรือภาพถ่ายทางอากาศอื่นๆ ที่มีความละเอียดสูง ให้ทำงานร่วมกับกูเกิลเอิร์ธ
  2. ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) – ทำงานโดยใช้ฐานข้อมูลจีไอเอสที่มีอยู่ในองค์กร
  3. ข้อมูลแบบจำลองความสูง (Terrain) – นำชั้นข้อมูลความสูงเชิงตัวเลขมาใช้แสดงผลสามมิติ หรือแสดงสภาพความสูงของพื้นผิวโลก และ
  4. ข้อมูลประเภทจุด (Point) – ข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งสถานที่ที่สนใจ

  – Google Earth Server  สามารถเผยแพร่ข้อมูลขององค์กรไปยังลูกข่าย โดยใช้โปรแกรมลูกข่าย เช่น กูเกิลเอิร์ธอีซี (Google Earth EC) เพื่อเป็นการจัดการฐานข้อมูลในองค์กรที่เป็นระบบมากขึ้น
– Google Earth EC  (Enterprise Client) เป็นโปรแกรมที่ทำงานร่วมกับกูเกิลเอิร์ธเซิฟเวอร์ โดยสามารถแสดงผล จัดพิมพ์ และกำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูลได้


สามารถ download เอกสารเพิ่มเติมที่แนะนำขั้นตอนการติดตั้งได้ที่
3go03.pdf

Comments are closed.

ข่าวสารย้อนหลัง
Who's Online
1 visitors online now
0 guests, 1 bots, 0 members
Powered by Visitor Maps