กูเกิลแมพและกูเกิลเอิร์ท

กูเกิลแมพและกูเกิลเอิร์ท

ในเริ่มต้นที่บริษัทที่ผลิตแผนที่ดิจิตอลที่ใช้ชื่อว่าคีย์โฮล (Keyhole) ได้เปิดให้บริการแผนที่ผ่านเวปไซต์ชื่อ keyhole.com ซึ่งปัจจุบันทางบริษัทกูเกิลได้ติดต่อขอซื้อบริการในเวปไซต์นั้นเมื่อประมาณ 6 เดือนที่ผ่านมา และบริการของกูเกิลก็มีทั้งที่ใช้บริการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และประเภทที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายปี

ดังนั้นฟังก์ชั่นการทำงานพื้นฐานของโปรแกรมกูเกิลเอิร์ธจึงเป็นการแสดงผลแผนที่ดิจิตอล รวมทั้งบริการเสริมแผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียม โดยผู้ใช้สามารถย่อและขยายภาพไปยังสถานที่ต่างๆ ได้โดยแสดงผลเป็นภาพถ่ายจากดาวเทียม โดยเน้นในเรื่องของการแนะนำแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั่วโลก และวางแผนเส้นทางการท่องเที่ยว ตลอดจนไปใช้ในงานบริหารการขนส่งโดยเลือกเส้นทางที่ขนส่งไปยังตำแหน่งที่ตั้งของลูกค้าซึ่งเหมาะกับแวดวงของงานลอจิสติกส์ก็สามารถใช้บริการนี้ได้ โดยตัวโปรแกรมสามารถขยายรายละเอียดของภาพถ่ายจากดาวเทียมในบางพื้นที่ที่สามารถแสดงภาพที่ชัดเจน และมีรายละเอียดสูงขึ้นตามคุณสมบัติรายละเอียดของภาพถ่ายจากดาวเทียมนั้น
ภาพถ่ายจากดาวเทียมที่แสดงผลผ่านโปรแกรมกูเกิลเอิร์ธนี้ ประกอบด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนด์แซท (LANDSAT) ซึ่งมีรายละเอียดของภาพที่ 30 เมตร และภาพถ่ายจากดาวเทียมอิโคนอส (IKONOS) ซึ่งมีรายละเอียดของภาพที่ 1 เมตร และบางพื้นที่ในอนาคตอาจจะใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมที่มีรายละเอียดสูงมากขึ้นไป มาแทนที่ได้ ดังนั้นจึงเป็นที่กังวลสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการความมั่นคงของประเทศทั่วโลกในหลายๆ พื้นที่ จนมีความหวั่นเกรงกันว่าความมั่นคงของประเทศและความปลอดภัยของประเทศจะเริ่มมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น แต่จากที่ผู้ใช้ได้เข้าไปใช้งานพบว่าข้อมูลที่มีรายละเอียดสูงจะอยู่ในบริเวณพื้นที่ของอเมริกาเหนือ หรือสหรัฐอเมริกา

สำหรับข้อมูลของประเทศไทยก็มีหลายพื้นที่ที่มีรายละเอียดสูง เช่นพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และพื้นที่ท่องเที่ยวหลักๆ หลายจังหวัด เช่น ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น

กูเกิลเอิร์ธได้เปิดตัวเมื่อกรกฎาคม 2548 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่สนใจของทุกวงการกับการประชาสัมพันธ์เปิดตัวโปรแกรมกูเกิลเอิร์ธเพื่อดึงข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นำข้อมูลมาแสดงผลกราฟฟิกเป็นแผนที่ทั้งสองมิติ และสามมิติ ได้อย่างรวดเร็ว เป็นแนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ในการสืบค้นแผนที่และผู้ใช้เห็นสภาพพื้นที่จริงและมีความละเอียดสูงในบางพื้นที่ในรูปแบบสามมิติ เป็นการนำภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนด์แซท (LANDSAT) ที่เป็นข้อมูลภาพถ่ายรายละเอียดปานกลาง และดาวเทียมอิโคนอส (IKONOS) และดาวเทียมควิกเบิร์ด (Quickbird) ที่เป็นข้อมูลภาพถ่ายรายละเอียดสูง ที่ได้ทำการบันทึกจากห้วงอวกาศเหนือพื้นพิภพ และจัดเก็บเป็นภาพถ่ายจากดาวเทียมแล้วนำมาจัดทำเป็นแผนที่ให้ผู้ใช้ได้นำมาแสดงผ่านตัวโปรแกรมแสดงผลด้านกราฟฟิกต่าง จึงทำให้เป็นที่สนใจของทุกคน ทุกเพศทุกวัย เมื่อได้มีการเปิดตัวขึ้นมาแล้ว และถูกนำมาใช้งานมากขึ้นทุกวัน ยังคงมีคำถามว่าแล้วมันส่งข้อมูลดาวเทียมแบบ ณ เวลานั้นๆ เลยหรือไม่ อันนี้ยังไม่ถึงขนาดที่ส่งข้อมูลมาในขณะนั้นทันทีทันใด เนื่องจากต้องอาศัยเวลาในการประมวลผลข้อมูลกว่าจะได้มาเป็นภาพแผนที่ที่เราเห็นก็ไม่ใช่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็มีบางเวปไซต์ที่พยายามดึงข้อมูลมาใกล้เคียงกับเวลาจริงมักนิยมใช้ในงานด้านอุตุนิยมวิทยา หรือติดตามการเคลื่อนตัวของพายุหรือเมฆหมอก

กูเกิลแมพแบบออน์ไลน์ผ่านเวปบราวเซอร์

กูเกิลเอิร์ธได้แสดงผลผ่านเบราเซอร์เวปไซต์ ที่มีชื่อเรียกกันว่า กูเกิลแมพ (GoogleMap) เพื่อแสดงผลในรูปแบบสองมิติ ผู้สนใจสามารถเข้าสู่เวปไซต์ http://maps.google.com แต่ถ้าจะเฉพาะเจาะจงมาที่ประเทศไทยก็จำเป็นต้องเพิ่มเติมพิกัดภูมิศาสตร์แลติจูดและลองกิจูด เพิ่มขึ้น http://maps.google.com/maps?ll=14,100 แผนที่จะแสดงผลผ่านเบราเซอร์ (Browser) ได้ โดยผู้ใช้สามารถเลือกชนิดของการแสดงผลได้สามรูปแบบ

1) Map จะแสดงผลเป็นรูปแบบแผนที่หรือแผนที่ทางภูมิศาสตร์ (จีไอเอส –GIS)

2) Satellite จะแสดงผลเป็นรูปแบบภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ได้ผ่านขั้นตอนประมวลผลเชิงตัวเลขใส่ค่าพิกัดภูมิศาสตร์มาแล้ว

3) Hybrid จะแสดงผลภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ซ้อนด้วยข้อมูลแผนที่ภูมิศาสตร์

กูเกิลเอิร์ทโปรแกรมดูภาพดาวเทียมผ่านอินเตอร์เน็ต

            กูเกิลเอิร์ธได้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าไปทดลองใช้งานโปรแกรมในรูปแบบฟรี และแบบเสียค่าใช้จ่ายรายปี เป็นการเปิดรูปแบบการตลาดใหม่โดยการนำข้อมูล “รีโมทเซนซิ่ง” และ “จีไอเอส”  มาผสมผสานทำให้ภาพถ่ายแผนที่จากดาวเทียมสามารถเพิ่มเติมรายละเอียดในรูปแบบฐานข้อมูลที่อ้างอิงพิกัดตำแหน่งของภาพถ่าย โดยอาศัยระบบโปรแกรมที่สามารถดึงข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่ช่วยให้การสำรวจโลกในรูปแบบบันเทิงที่มีทั้งสาระและความรู้ (Edutainment) นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์สืบค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ที่สนใจ โดยเฉพาะสถานี่ท่องเที่ยวที่สำคัญก็ได้แสดงผลผ่านระบบเครือข่ายและเรียกอ่านได้กูเกิลเอิร์ธ โดยตัวโปรแกรมจะดึงข้อมูลมาจัดเก็บเข้าหน่วยความจำสำรองของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา และสามารถบันทึกจัดเก็บไว้สามารถแสดงผลแม้ไม่ได้ต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ก็ยิ่งเป็นประเด็นที่ทำให้วงการการศึกษา หรือแม้กระทั่งในครอบครัวก็ยิ่งให้ความสนใจกับโปรแกรมกูเกิลเอิร์ธมากขึ้นเป็นทวีคูณ หลายท่านเลยตั้งข้อสังเกตว่าอย่างนี้ก็มีข้อมูลทุกอย่างในฐานข้อมูลแผนที่เหมือนในแผนที่ท่องเที่ยว อันนี้ก็ไม่ได้ทันสมัยขนาดนั้น ระบบก็ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของข้อมูลรายละเอียดในบางพื้นที่ ที่ต้องอาศัยการกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบโดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้โดยทั่วไปสามารถใส่รายละเอียดข้อมูลได้ แต่คงต้องใช้โปรแกรมกูเกิลเอิร์ธเวอร์ชั่นเสียเงินค่าลิขสิทธิ์รายปี ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ใส่ข้อมูลรายละเอียดเข้าไปได้ทั้ง ภาพถ่ายจากดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศ หรือภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล แม้กระทั่งฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ที่หลายๆ หน่วยงานใช้งานกันอยู่บ้างแล้ว เลยลองยกตัวอย่างพื้นที่ในบริวเณสนามหลวงที่ผู้ใช้สามารถซูมขยายภาพเข้าไปเห็นรายละเอียดและเห็นข้อมูลที่สามารถเลือกดูได้ และปรากฎเป็นรูปภาพของสถานที่ที่สนใจ

=======================================
download เอกสารเพิ่มเติมได้ที่
1cover.pdf
2ge01.pdf

Comments are closed.

ข่าวสารย้อนหลัง
Who's Online
2 visitors online now
0 guests, 2 bots, 0 members
Powered by Visitor Maps