Author Archive
พื้นฐานการใช้โปรแกรม MapInfo Professional ตอนที่ 6
ในตอนที่ 6 ศึกษาการนำเข้าค่าพิกัดภูมิศาสตร์จากตาราง Excel
ผู้ใช้ ต้องศึกษาเรื่องการอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์ ในระบบแผนที่ หรือในระบบ GPS เพื่อนำค่าพิกัดภูมิศาสตร์เหล่านั้นมาบันทึกไว้ในโปรแกรม Excel
ข้อมูลพิกัดภูมิศาสตร์ที่ระบุตำแหน่ง สถานที่ และสิ่งปลูกสร้าง ก็จะสามารถนำมาใช้แสดงผลในระบบ GIS ได้
ตัวอย่างนี้เป็นการใช้ MapInfo Professional มาอ่านค่าพิกัดภูมิศาสตร์ ได้
เลือกเมนู File >> Open
ในหน้าต่างแรกนี้ให้เลือก File of Type เป็น Microsoft Excel (*.xls) ดังรูป
ให้เลือกไฟล์ Excel ที่จัดเตรียมไว้ แล้วกดปุ่ม Open จะปรากฎหน้าต่าง
ให้เลือก Check Box บรรทัดคำสั่ง Use Row Above Selected Range เพื่อกำหนดให้โปรแกรมทราบว่าบรรทัดแรกของ Excel เป็นชื่อ Field ไม่ได้นำมาใช้งานในการกำหนดพิกัด แต่ให้โปรแกรมนำไปใช้เป็นชื่อ File ใน Attribute อธิบายง่ายๆ อย่างนี้
พื้นฐานการใช้โปรแกรม MapInfo Professional ตอนที่ 5
ในตอนที่ 5 ศึกษาการแสดงผลข้อมูลเวกเตอร์ร่วมกับแรสเตอร์ในโปรแกรม MapInfo Professional
ต่อจากตอนที่ 4 หลังจากเปิดภาพแรสเตอร์ คือ ภาพถ่ายจากดาวเทียม Quickbird ในพื้นที่อำเภอเมืองสิงห์บุรี
ในบทนี้จะเน้นการนำเข้าข้อมูลเวกเตอร์ ซึ่งอยู่ในรูปแบบ Shapefile แปลงมาเป็น MapInfo file ได้อย่างสะดวก ดูขั้นตอนดังนี้
เลือกที่คำสั่ง File >> Open
เปิดไปที่จัดเก็บข้อมูลเวกเตอร์ไฟล์ ดังรูป
พื้นฐานการใช้โปรแกรม MapInfo Professional ตอนที่ 4
ในตอนที่ 4 ศึกษาการเปิดภาพถ่ายจากดาวเทียม หรือภาพแรสเตอร์
ในการนำภาพดาวเทียมที่มีค่าพิกัดภูมิศาสตร์ เข้าสู่ระบบ
ผู้ใช้ต้องศึกษาเพิ่มเติมใรเรื่องของการทำ Geometric Correction ด้วยโปรแกรมอื่นๆ มา จะให้เข้าใจว่าทำไมเปิดภาพมาแล้วมันซ้อนอยู่ในพิกัดพอดี
ตัวอย่างนี้เป็นภาพจากอำเภอเมืองสิงห์บุรี เป็นภาพที่นำมาจาก Google Earth แล้วทำการ Geometric Correction
ผู้ใช้เลือกเมนู File >> Open
แล้วปรับแก้ส่วนของ File of Type เป็นชนิด Raster Image
พื้นฐานการใช้โปรแกรม MapInfo Professional ตอนที่ 3
ในตอนที่ 3 การตกแต่งสัญลักษณ์แบบจุด
ในตัวอย่างนี้จะแนะนำถึงพื้นฐานการเปลี่ยนสัญลักษณ์ข้อมูลแบบจุด เป็นพื้นฐานที่ผู้ใช้งานโปรแกรมควรจะรู้จัก คือการควบคุมผ่านคำสั่ง Layer Control ซึ่งถือว่าสำคัญมากทีเดียวสำหรับคำสั่งนี้
วิธีการใช้งาน กดเมาส์ขวา บนหน้าต่างแผนที่ เรียกเมนูลัด
ให้ผู้ใช้ เลือกคำสั่ง Layer Control… บรรทัดบนสุด
จะปรากฎหน้าต่างสำหรับ ควบคุมชั้นขอมูลแผนที่
ให้ผู้ใช้ดูไปคลิกเลือกชั้นข้อมูลที่จะปรับแต่งในที่นี้เลือก Landmark แล้วไปที่ด้านขวา แล้วคลิก ที่ปุ่มคำสั่ง Display…
คำสั่งนี้ใช้เพื่อควบคุมการตกแต่งสัญลักษณ์ของชั้นข้อมูลแผนที่ได้ (สามารถใช้คำสั่งนี้ได้กับทุกชั้นข้อมูล
พื้นฐานการใช้โปรแกรม MapInfo Professional ตอนที่ 2
ในตอนที่ 2 จะเป็นการแสดงผลข้อมูลเชิงตาราง หรือข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data)
เป็นการประยุกต์ใช้งาน หรือปรับแก้ไขตารางขั้นต้น สำหรับนำไปต่อยอดทางความคิดต่อว่าจะนำข้อมูลอะไรใส่เข้าไปในระบบได้บ้าง
จากที่ผู้อ่านได้ศึกษาเบื้องต้นในพื้นฐาน GIS ฐานข้อมูล GIS จะมีจุดเด่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) และ ข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data)
จากหน้าต่างที่แสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)
ให้ผู้ใช้เลือกคำสั่งที่เมนู Windows >> New Browser Windows ซึ่งหมายถึงเปิดดูข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribte Data) จากฐานข้อมูล GIS ที่เปิดใช้งานในระบบ MapInfo Professional ดังนั้นผู้ใช้จะมีสิทธิเลือกดูฐานข้อมูลเฉพาะที่เปิดไว้ตอนต้นเท่านั้น
พื้นฐานการใช้โปรแกรม MapInfo Professional ตอนที่ 1
โปรแกรม MapInfo Professional เป็นโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่มีใช้ในหลายหน่วยงาน เป็นโปรแกรมที่น่าสนใจอีกโปรแกรมหนึ่ง
โปรแกรม MapInfo Professional จะสามารถทำงานบนระบบวินโดว์ ดังนั้นการใช้งานจึงไม่ยากมากนัก มีเมนู และเครื่องมือในการทำงานเหมือนโปรแกรมในระบบ Windows ทั่วๆ ไป ซึ่งจะได้อธิบายวิธีการใช้งานเบื้องต้นให้ทราบโดยสังเขป
ในส่วนแรก เป็นการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)
เมื่อเปิดโปรแกรม MapInfo Professional ขึ้นมาจะมีหน้าต่างดังรูป
ในตอนแรกนี้ ให้ลองเปิดฐานข้อมูล MapInfo Database โดยเลือกคำสั่งที่ Option >> Open a Table
แล้วเลือกคำสั่งที่ปุ่ม Open… ด้านขวามือ
รีโมทเซนซิงดูโลกผ่านเว็บไซต์
รีโมทเซนซิงดูโลกผ่านเว็บไซต์
ดูโลกจากอวกาศ สามารถคลิกบนรูปเพื่อการแสดงผล หรือการกำหนดค่า lat/long เพื่อแสดงภาพแผนที่ในแต่ละพื้นที่ เหมาะสำหรับนักเรียน ในการเรียนรู้ ภูมิศาสตร์โลก
http://www.fourmilab.ch/cgi-bin/Earth
เรียนรู้พื้นฐานการใช้โปรแกรม ArcGIS 9.2
เรียนรู้พื้นฐานการใช้โปรแกรม ArcGIS 9.2 ครอบคลุมเวอร์ชั่น 9.1 ด้วย CAI
สมาชิกจีไอเอสทูมี สามารถคลิกดู สื่อการสอน CAI (ไม่มีเสียง แต่มีเมนูบอกรายละเอียดการทำงาน อย่างชัดเจน)
ท่านสามารถใช้ศึกษาด้วยตนเองได้
เป็นการปูพื้นฐาน การใช้งานโปรแกรม ArcGIS ในระดับ ArcView ครอบคลุมทั้ง 9.1 และ 9.2
ศึกษาพื้นฐานการใช้งาน และลองหาความรู้เพิ่มเติมในการนำไปประยุกต์ใช้ในงานขององค์กรท่าน เพราะการศึกษาจาก CAI เป็นเพียงแค่เครื่องมือ แต่ในแนวคิดในการทำงานต้องศึกษากันต่อไป เพราะ GIS สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย
![]() |
![]() ![]() ![]() |
เรียนรู้การใช้โปรแกรม ArcCatalog ในส่วนนี้จะพูดถึงการใช้งานโมดูล ArcCatalog เพื่อควบคุม ฐานข้อมูล GIS อย่างมีประสิทธิภาพ เหมือนการใช้โปรแกรม Windows Explorer นั่นเอง แต่ต่างกันตรงที่ใช้สำหรับจัดการข้อมูล GIS ได้ดีกว่า Window Explorer
เรียนรู้การใช้ ArcMap : Vector Data ในส่วนนี้จะใช้งานโปรแกรม ArcMap เพื่อแสดงผลแผนที่ GIS ฐานข้อมูล GIS ประเภทเวกเตอร์ และการตกแต่งสัญลักษณ์ เพื่อให้สวยงามได้อย่างไร ก็ลองเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ในบทนี้
เรียนรู้การกำหนด Georeferencing Map
ในส่วนนี้จะใช้งานโปรแกรม ArcMap เพื่อแสดงผลแผนที่แรสเตอร์ หรือภาพที่ scan เข้ามา แล้วทำการตรึงพิกัดภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ประกอบการแสดงผลแผนที่ หรือเป็นแผนที่ฐานที่จะนำเข้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ในภายหลัง
เรียนรู้การ Digitizing Mapใช้ส่วนโปรแกรม ArcMap ในการนำเข้าข้อมูลแบบพื้นฐาน เช่น จุดที่ตั้งชุมชน เส้นถนน และพื้นที่การใช้ที่ดิน เป็นต้น อย่างง่ายๆ เบื้องต้น ในส่วนนี้ยังไม่ถึงการทำ Advanced Editing เพราะต้องการให้ผู้ใช้ศึกษาเบื้องต้นก่อน จะได้เข้าใจการนำเข้าข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งจัดเป็นการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)
เรียนรู้การทำ Attribute Table ใช้ส่วนของโปรแกรม ArcMap นำเข้าข้อมูลเชิงตาราง หรือข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) เพื่อนำเข้าข้อมูลตาราง ในที่นี้เป็นการคำนวณค่าพิกัดจุดที่ตั้งชุมชนที่ได้นำเข้าไป ความยาวเส้นถนนที่ได้นำเข้า และขนาดของพื้นที่ เป็นตารางเมตร เป็นต้น
เรียนรู้การทำ HyperLink Map ใช้ส่วนของโปรแกรม ArcMap เชื่อมโยงไปยังภาพ หรือ Video ที่ต้องการแสดงผล เพื่อประกอบการนำเสนอผลงาน เหมาะสำหรับการนำเสนอ ให้กับผู้บริหาร
เรียนรู้การแปลง Datum / Zone เป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่ง ในการปรับแก้ไขฐานข้อมูลให้อยู่ในระบบพิกัดเดียวกัน ที่เรียกว่า Datum แปลตามราชบัณฑิตได้ว่า "มูลฐาน" หรือ "ระดับอ้างอิง" อันไหนแปลได้เข้าใจก็เลือกใช้ให้เหมาะสมก็แล้วกันครับ ไม่ต้องแปลไทยเป็นไทยอีก เดียวผู้ใช้จะ "งง" และการแปลงโซน ซึ่งประเทศไทยมีบางส่วนตกอยู่ในพื้นที่ โซน 47 และบางส่วนตกในโซน 48 ไว้อธิบายให้อ่านอย่างละเอียดอีกครั้งครับ
50อบรม_กรมอุทยานฯรุ่น2
ศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ได้ร่วมกับ กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดอบรมคอร์ส GIS ขั้นประยุกต์ และการใช้เครื่องมือโปรแกรม ArcGIS ArcInfo 9.2 ระดับ ArcInfo โดยเรียนรู้การนำเข้าแบบประยุกต์ ArcScan / การ digitize และการนำเข้าแบบ Subtype และ Domain และทำ Topology และ Edit ตลอดจน Trick & Tip ค่อนข้างได้รับการตอบรับดี แต่ไม่ค่อยสะดวกเรื่องสถานที่ และเครื่องมือ เนื่องจากติดช่วงรับปริญญาของ ม.เกษตรศาสตร์
50อบรม_กรมอุทยานฯ
ศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ได้ร่วมกับ กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดอบรมคอร์ส GIS พื้นฐาน และการใช้เครื่องมือโปรแกรม ArcGIS ArcInfo 9.2 สำหรับปรับพื้นฐานกลุ่มผู้เข้าอบรม ระยะเวลา 3 วัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์โดยเฉพาะการนำเข้า การแปลง Datum Zone ของไทย ที่ค่อนข้างยุ่งๆ นิดหน่อย แต่ไม่ยาก เพราะทุกอย่างเส้นผมบังภูเขา หวังว่าคงได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
50อบรม_ม.วงษ์ชวลิตกุล
ศูนย์วิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้จัดอบรมให้ GIS application ให้ นศ.ป.เอก คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.วงษ์ชวลิตกุล
โปรแกรมแนะนำในเว็บไซต์
โปรแกรมแนะนำ เพื่อสามารถเข้าชมเว็บไซต์ ได้อย่างสมบูรณ์
ข้อมูล ททท. Google Map ด้วย API
ได้เข้าไปค้นหาแหล่งท่องเที่ย พบมี แผนที่ท่องเที่ยว GIS MAP เป็นการนำ Google Map มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกแก่ท่านในการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดต่าง ๆ ทั่วไทย
แผนที่นี้ได้ประยุกต์ใช้ API ของ Google Map มาแสดงผลร่วมกับตำแหน่งที่ตั้งสถานที่ตามพิกัด GIS และข้อมูลท่องเที่ยวในเว็บไซต์ ททท.
เข้าใช้งานได้ที่ http://tourismthailand.org/google_map/
วิธีการใช้งาน http://tourismthailand.org/google_map/mannual.html