บทที่ 2 : 2.4 องค์ประกอบด้านบุคลากร

2.4 องค์ประกอบด้านบุคลากร บทที่ ๒

องค์ประกอบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

(Components of Geographic Information Systems)

๒.๕ บุคลากร (Peopleware)

บุคลากรทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ค่อนข้างมีความจำเป็นที่ต้องมีความรู้หลากหลาย และมีความสนใจเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ เสมอ และคอยติดตามข่าวสารความเป็นไปของเทคโนโลยีทางด้านนี้ อย่างน้อยบุคลากรที่จะดูแลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้ดีควรมีใจรักในการทำงานทางด้านนี้เป็นสำคัญ
มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ ในโลกข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน ที่ต้องพึ่งพาเครื่องคอมพิวเตอร์ในการทำงานนั้น มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลปริมาณมหาศาล เช่น ธนาคาร, หน่วยงานราชการ เป็นต้น การใช้คอมพิวเตอร์จึงอาจมีขั้นตอนมากขึ้น เช่น

� บันทึกข้อมูลและส่งเข้าประมวลผลกับเครื่องคอมพิวเตอร์

� ควบคุมการทำงานของระบบเครื่องคอมพิวเตอร์

� เขียนโปรแกรม และแก้ไขให้ทันสมัย

� วิเคราะห์ และออกแบบระบบงานที่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล

� ตรวจตรา, ซ่อมแซมเครื่อง และอุปกรณ์ต่างๆ

� งานบริหารวัสดุอุปกรณ์ และกำลังคนทางด้านคอมพิวเตอร์

งานเหล่านี้จะให้คนเพียงคนเดียวทำไม่ไหว จึงต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านมาร่วมกันทำงานเป็นทีม โดยทั่วไปมักจะตั้งเป็นหน่วยงานทางด้านคอมพิวเตอร์ขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายคอมพิวเตอร์, ฝ่ายประมวลผลข้อมูล เป็นต้น


รูปที่ 2.7 องค์ประกอบทางด้านบุคลากร

๒.๕.๑ บุคลากรด้านสารสนเทศ

บุคลากคที่มีความสามารถทางด้านสารสนเทศที่ช่วยพัฒนาให้หน่วยงานทำงานอย่างเป็นระบบโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการดำเนินงานขององค์กรจะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากที่จะทำให้ องค์กรดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องประกอบด้วยบุคลากรดังนี้

1) เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator)

ทำงานในห้องบันทึกข้อมูลโดยมีอุปกรณ์สำหรับบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เครื่องบันทึกข้อมูลลงแผ่นดิสเก็ตต์, เครื่องบันทึกข้อมูลลงจานแม่เหล็ก เป็นต้น งานหลักคือ บันทึกข้อมูลลงสื่อชนิดต่างๆ หรือบางทีอาจป้อนข้อมูลเข้าไปประมวลผลกับคอมพิวเตอร์โดยตรงก็ได้ (เพื่อบันทึกลงสื่อในภายหลัง)

ผู้ทำหน้าที่อาจไม่ต้องจบสาขาคอมพิวเตอร์ แต่อย่างน้อยต้องรู้จักเครื่องคอมพิวเตอร์ และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ได้ ที่สำคัญคือ ต้องป้อนข้อมูลได้รวดเร็ว และมีความละเอียดรอบคอบ เพราะเมื่อป้อนข้อมูลแล้วจะต้องทำการตรวจทานความถูกต้องของข้อมูลด้วย

2) เจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)

คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะในระบบงานใหญ่ๆ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากในแต่ละวันมีงานจำนวนมากที่จะส่งเข้ามาประมวลผลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตามเวลาต่างๆ เช่น งานสรุปข้อมูลทางบัญชี ต้องทำทุกเย็น งานเก็บสำรองข้อมูลต้องทำตอนกลางคืน เป็นต้น ทำให้ต้องคอยจัดโปรแกรมเข้าประมวลผลตามเวลาที่ระบุเอาไว้

นอกจากนี้ในระหว่างที่โปรแกรมกำลังทำงานจะต้องคอยตอบสนองสิ่งที่โปรแกรมต้องการ ซึ่งจะแสดงผลทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ เช่น เรียกให้นำเทปแม่เหล็กเข้าเครื่องอ่าน ขอให้นำกระดาษใส่เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

ผู้ที่ทำงานตำแหน่งนี้อาจไม่จำเป็นต้องเรียนมาทางด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ แต่ควรมีพื้นฐานความรู้บ้าง และที่สำคัญคือจะต้องเป็นผู้มีความอดทนสูง เพราะจะต้องทำงานโดยเปลี่ยนเวรกันเป็นกะ

3) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer)

เป็นผู้เขียนโปรแกรมสำหรับงานที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำ คือเขียนโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้นั้นเอง ดังนั้นจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องคอมพิวเตอร์, หลักการเขียนโปรแกรมและภาษาสำหรับเขียนโปรแกรม งานที่ทำประจำวันนอกจากจะเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่แล้ว ยังต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมเก่าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ที่มักจะมีเรื่องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วย

4) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมระบบ (System Programmer)

เป็นผู้ศึกษา จัดหา และดูแลการใช้โปรแกรมระบบ (System Program) ให้เหมาะสมกับเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ทำหน้าที่นี้จะต้องเข้าใจระบบการทำงานของโปรแกรมและเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เพราะเมื่อใดก็ตามที่ระบบคอมพิวเตอร์มีปัญหา จะต้องเข้ามารับผิดชอบ และค้นหาสาเหตุเพื่อแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไป

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Designer)

ทำหน้าที่ศึกษาและวิเคราะห์ระบบงานที่จะใช้คอมพิวเตอร์ (ประมวลผลข้อมูล) แล้วนำมาออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่ต้องนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้ออกมาตลอดจนถึงขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เช่น งานบัญชี ซึ่งเคยใช้วิธีลงบัญชีในสมุดและนั่งคำนวณด้วยมือ เมื่อต้องการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเป็นหน้าที่ของ System Analyst and Designer ต้องมาศึกษางานบัญชีว่ามีการจัดทำอย่างไรบ้าง? ข้อมูลและผลลัพธ์ทางบัญชีควรมีรูปแบบเป็นอย่างไร? ต่อจากนั้นจึงนำมาออกแบบให้เข้ากับวิธีการทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้นอกจากจะต้องเข้าใจระบบงานต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานแล้ว ยังต้องเข้าใจวิธีการทางคอมพิวเตอร์ด้วย และในทางปฏิบัติยังต้องเป็นผู้ประสานความเข้าใจระหว่างผู้ใช้กับผู้ปฏิบัติงานทางคอมพิวเตอร์ด้วย

5) วิศวกรระบบ (System Engineer)

ทำหน้าที่ดูแลทางด้านระบบฮาร์ดแวร์โดยเฉพาะ ดังนั้นจึงต้องมีความรู้ในเรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์, ระบบไฟฟ้า, และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สำหรับธุรกิจทั่วไปที่ใช้คอมพิวเตอร์นั้นอาจไม่จำเป็นต้องจ้าง System Engineerc ไว้เป็นพนักงานเพราะในเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหาอาจติดต่อเจ้าหน้าที่ ด้านนี้จากบริษัทที่ขายคอมพิวเตอร์ให้เป็นครั้งคราวก็ได้

6) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Data Base Administration)

ทำหน้าที่สร้างและควบคุมการใช้ฐานข้อมูล โดยการออกแบบลักษณะ และวิธีจัดเก็บข้อมูลตามความประสงค์ของผู้ใช้งาน รวมทั้งวางข้อกำหนดตลอดจนถึงระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาลักลอบใช้ข้อมูล ดังนั้นจะต้องมีความรู้ในการออกแบบและการจัดการฐานข้อมูล รวมถึงโปรแกรมที่ใช้สำหรับจัดการฐานข้อมูลด้วย

ผู้บริหารหน่วยประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)

EDP คือ Electronic Data Processing แปลว่า การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงมีหน้าที่บริหารงานภายในศูนย์คอมพิวเตอร์ ดูแลเรื่องการจัดซื้อ และค่าใช้จ่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ตลอดจนถึงโปรแกรมต่างๆ ที่จะนำมาใช้งาน นอกจากนี้ยังต้องดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ด้วย ผู้ที่จะเป็น EDP Manger ได้จะต้องมีความรู้ทั้งทางด้านคอมพิวเตอร์ และ บริหารธุรกิจควบคู่กันไป

๒.๕.๒ บุคคลากรด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์

หน่วยงานหรือตัวบุคคล เทคโนโลยีทางด้าน GIS จะต้องผสมผสานกับเทคโนโลยีอีกหลายด้าน เช่น Remote Sensing ขณะนี้ประเทศไทยก็กำลังตื่นตัวในเรื่องนี้เป็นอย่างมากทั้งในส่วนราชการและเอกชน รวมถึงสถาบันทางการศึกษาต่างๆ ผู้ที่มีความรู้ในเทคโนโลยีเหล่านี้ดีจึงได้เปรียบกว่าผู้อื่น หน่วยงานหรือส่วนราชการที่จะใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อย่างสมบูรณ์แบบนั้น ควรจะประกอบด้วยบุคคลต่างๆ ดังนี้

1) ผู้จัดการ หรือผู้อำนวยการ หรือหัวหน้า บุคคลที่ทำงานในตำแหน่งนี้ควรมีความรู้กว้างๆ เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ระบบ GIS ตลอดจนขีดความสามารถและข้อจำกัดของฐานข้อมูลในหน่วยงานของตน มีความชำนาญในการบริหารบุคคลและหางบประมาณมาสนับสนุนหน่วยงานของตน

2) นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (System Analysis) เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับระบบ GIS เป็นอย่างดี สามารถออกแบบฐานข้อมูลพร้อมด้วยวิธีการใช้ สามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ใช้ออกมาเป็นวิธีการดำเนินงานให้ได้ผล

3) ผู้จัดการฐานข้อมูล เป็นผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับฐานข้อมูลทั้งในรูปของ Spatial data และ Non-Spatial data และสื่อในการเก็บข้อมูลตลอดจนพัฒนา และบริหารการทำแผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์

4) ผู้ปฏิบัติงานอาวุโส เป็นผู้ปฏิบัติงานตามแผนของผู้วิเคราะห์ระบบ GIS และสามารถใช้ระบบ GIS ให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์เป็นผู้วางแผนการทำงานและดูแลระบบคอมพิวเตอร์

5) ผู้ทำแผนที่ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในงานแผนที่ เป็นผู้ที่จะให้การสนับสนุนต่อการใช้ระบบ GISในสองลักษณะคือ การป้อนข้อมูลและแสดงผลเป็นแผนที่ ในส่วนที่เกี่ยวกับการป้อนข้อมูลต้องมีการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น จากแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศและข้อมูลดาวเทียม เป็นต้น ส่วนในเรื่องการแสดงผลนั้นจะต้องออกแบบแผนที่ให้ดีซึ่งต้องอาศัยความรู้ด้าน graphics ช่วยในการควบคุมคุณภาพอีกด้วย

6) ผู้ป้อนข้อมูล (Data Entry) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้และการทำงานของระบบ GIS โดยเฉพาะในแง่ของการป้อนข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น การ digitize ข้อมูลแผนที่การแก้ไข การป้อนข้อมูลชนิด Attributes ต่างๆ ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดมากมาย ผู้ป้อนข้อมูลตามการวางแผนของผู้ปฏิบัติงานอาวุโสหรือผู้วิเคราะห์ระบบด้วย

7) ผู้บำรุงรักษา เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด รวมทั้ง Hardware และ Software เป็นผู้ที่ทำให้ระบบงานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดำเนินไปเป็นปกติ

8) โปรแกรมเมอร์ เป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบ GIS สามารถเขียนโปรแกรมต่างๆ ได้ เช่น FORTRAN, BASIC, C, VISUAL BASIC และ PASCAL เป็นต้น และภาษาอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน สามารถเขียนโปรแกรมทำงานเฉพาะอย่างได้ เช่น โปรแกรมในการแก้ไขข้อมูล โปรแกรมอ่านข้อมูลในเทปแม่เหล็ก เป็นต้น

9) ผู้ใช้ (Users) มีความสำคัญมากเพราะหากขาดผู้ใช้แล้วก็จะไม่มีระบบ GIS ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ และความเข้าใจในความสามารถและขีดจำกัดของงานตน ต้องรู้ในสิ่งที่ตนต้องการ ผู้ใช้ต้องได้รับการเอาใจใส่และต้องได้รับการถ่ายทอดวิชาด้วย หากผู้ใช้มีความรู้มากก็จะเป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติเอง

ในส่วนขององค์ประกอบด้านข้อมูล (Data) และกระบวนการในการดำเนินการ (Methodology หรือ Procedure) จะได้อธิบายโดยละเอียดในบทถัดไป ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจะละเลยไม่ได้ในการดำเนินการด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ

Comments are closed.

ข่าวสารย้อนหลัง
Who's Online
4 visitors online now
1 guests, 3 bots, 0 members
Powered by Visitor Maps