บทที่ 2 : 2.3 องค์ประกอบด้านซอฟท์แวร์

2.3 องค์ประกอบด้านซอฟท์แวร์ บทที่ ๒

องค์ประกอบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

(Components of Geographic Information Systems)

๒.๓ ซอฟต์แวร์ (Software)

ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรม (program) คือ ชุดคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องการ ซอฟต์แวร์จะทำหน้าที่จัดการ, ควบคุมการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เปิดเครื่องจนกระทั่งปิดเครื่องเลยทีเดียว

เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์เป็นตัวควบคุมการทำงาน ไม่เช่นนั้นแล้วเครื่องจะไม่ทำอะไรให้ทั้งนั้น ซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนในการสั่งงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแล้วเรามักพบเห็นซอฟต์แวร์ที่วางขายกันอยู่ในลักษณะสำเร็จรูป คือ เมื่อนำไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เสร็จแล้ว จะใช้งานได้ทันที

เนื่องจากซอฟต์แวร์มีมากมายหลายชนิด ผู้อ่านจำเป็นต้องรู้จักภาพรวมของซอฟต์แวร์ก่อน เพื่อประโยชน์ในการเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับงาน และบางครั้งจำเป็นต้องใช้ซอฟท์แวร์นี้เพื่อทำงานร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีดังนี้คือ

๒.๓.๑.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หรือที่เรียกว่า Operating System (OS) เป็นโปรแกรมควบคุมระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ มีความสำคัญที่สุด และจำเป็นที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเรียกมาใช้ก่อนซอฟต์แวร์ประเภทอื่น เพราะทำหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดต่ออยู่ด้วย โดย OS จะเป็นตัวสั่งการหน่วยควบคุม (CPU) และประสานการทำงานของส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงการทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์อีกด้วย

เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดจะเรียกใช้ OS ต่างกัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)มักใช้ MS-DOS, WINDOWS95 เครื่องมินิคอมพิวเตอร์บางชนิดมักใช้ Unix หรือ OS/2 เป็นต้น

๒.๓.๒.ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Software Package) คือ โปรแกรมที่ผู้ผลิตทำไว้แล้ว เราสามารถหาซื้อมาใช้ให้เหมาะสมกับงาน ใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น งานพิมพ์เอกสาร, งานควบคุมสินค้าคงคลัง, งานบัญชี เป็นต้น ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ ได้แก่

๒.๓.๓.ซอฟต์แวร์จัดพิมพ์เอกสาร (Word Processing Software) เป็นโปรแกรมสำหรับงานพิมพ์เอกสารทั่วไป มีทั้งรุ่นที่พิมพ์ข้อความได้อย่างเดียว เช่น CU-Writer, Wordราชวิถี เป็นต้น และโปรแกรมรุ่นที่มีความสามารถมากมายในการจัดรูปภาพ ปรับแต่งข้อความ เช่น Microsoft Word เป็นต้น

๒.๓.๔.ซอฟต์แวร์สำหรับงานคำนวณ (Calculation Software) ใช้กับงานทางด้านการเงิน งานบัญชีที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขอยู่ตลอดเวลา โดยโปรแกรมจะจำลองหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นช่องๆ เรียกว่า เซลล์ (cell) เพื่อใช้ในการกรอกตัวเลขลงไป คล้ายกับกระดาษทำการของงานบัญชีจึงเรียกว่า “Spread Sheet” แต่มีลักษณะพิเศษกว่าตรงที่สามารถใส่สูตรการคำนวณของข้อมูล และให้แสดงผลลัพธ์ที่ต้องการได้ทันที เช่น LOTUS 1-2-3, Microsoft EXCEL เป็นต้น

๒.๓.๕.ซอฟต์แวร์สำหรับนำเสนอ (Presentation Software) ใช้กับงานทางด้านการนำเสนอข้อมูล จัดทำแผ่นใส หรือ นำเสนอผ่านอุปกรณ์ในการนำเสนออื่นๆ โดยโปแกรมจะสามารถนำข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น เข้ามาร่วมในการนำเสนอได้ เช่น Microsoft PowerPoint, Authorware, Multimedia Toolbook เป็นต้น

๒.๓.๖.ซอฟต์แวร์สำหรับจัดระบบฐานข้อมูล (Data Base Mangement Software) ใช้เก็บบันทึกข้อมูลในรูปแบบของฐานข้อมูล และมีคำสั่งงานสำหรับเรียกข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ที่จัดอยู่ในประเภทนี้ เช่น dBase III plus, FoxPro, MS-Access เป็นต้น

๒.๓.๗.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ โปรแกรมซึ่งจัดทำขึ้นตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ก่อนจัดทำโปรแกรมประเภทนี้ ต้องมีการศึกษางานของผู้ใช้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบงานให้รัดกุม ต่อจากนั้นจึงลงมือเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ เช่น Passcal, COBOL, ภาษา C, Visual Basic เป็นต้น หรืออาจนำชุดคำสั่งของโปรแกรมสำเร็จรูปบางตัวมาจัดทำให้ก็ได้ เช่น FoxPro, Visual Basic for EXCEL เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด เช่น จัดทำข้อมูลบุคลากร, ข้อมูลบัญชี, สินค้าคงคลัง เป็นต้น โดยมุ่งเน้นงานของผู้ใช้แต่ละรายเป็นเกณฑ์ (มิใช่ทำโปรแกรมมาตรฐานไว้ให้ผู้ใช้นำไปดัดแปลงเอง)

๒.๓.๘.โปรแกรมแปลภาษา (Language Transltor Programs) ใช้สำหรับแปลคำสั่งต่างๆ ในโปรแกรมที่เราเขียนขึ้นมาด้วยภาษาต่างๆ เช่น Pascal, COBOL, C เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและนำไปประมวลผลได้ เนื่องจากโปรแกรมที่เราเขียนขึ้นยังเป็นรหัสที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ (ไม่อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสอง) ดังนั้นจึงต้องใช้โปรแกรมแปลภาษามาทำหน้าที่แปลความให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ

ลักษณะการเขียนโปรแกรมให้กับคอมพิวเตอร์นั้นเขาเขียนในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ทันที คือ เขียนเป็นรหัสของเลขฐานสอง (เนื่องจากสัญญาณไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนั้น มีค่าตรงกับรหัสของเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1) แต่การเขียนในรูปแบบนี้เป็นเรื่องยุ่งยากมาก จึงได้พัฒนาคำสั่งงานของโปรแกรมให้เขียนได้ง่ายขึ้น ในลักษณะข้อความคล้ายภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารกัน ดังนั้นจึงต้องการใครสักคนมาเป็นผู้แปลความให้กับคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมแปลภาษาที่ใช้กันมีอยู่ 2 ลักษณะ

๒.๓.๘.๑.คอมไพเลอร์ (Compiler) ทำหน้าที่แปลคำสั่งในโปรแกรมที่เราเขียนขึ้น (Source Program) ทั้งหมดในคราวเดียวกันก่อน แล้วจึงส่งผลลัพธ์ที่ได้คือ Object Program ไปเก็บไว้เพื่อรอการเรียกไปใช้งานอีกทีหนึ่ง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคนิคของคอมไพเลอร์มีหลายชนิด เช่น ภาษา COBOL, Pascal, C เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเขียนโปแกรมด้วยภาษาเหล่านี้เสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องส่งให้คอมไพเลอร์เป็นผู้แปลเสมอ ตัวอย่างเช่น เมื่อเขียนโปรแกรมภาษา C เสร็จแล้วจะต้องส่งไปให้โปแกรม C Compiler แปลความให้เป็น Object Program เสียก่อน หลังจากนั้นจึงเรียกจาก Object Program ไปใช้งานได้

๒.๓.๘.๒.อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreters) ทำหน้าที่แปลคำสั่งใน Source Program ทีละคำสั่งแล้วส่งไปทำงานประมวลผลได้ทันที (ไม่มีการเก็บเป็น Object Program) ภาษาที่ใช้อินเตอร์พรีเตอร์เป็นตัวแปล เช่น ภาษา BASIC เป็นต้น

๒.๓.๙.โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) คือ โปแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น Format แผ่นดิสเก็ตต์ เพื่อจัดเตรียมเนื้อที่บันทึกข้อมูลลงดิสก์, Copy ใช้สำหรับคัดลอกข้อมูล เป็นต้น

แต่ที่ผู้เขียนขอแนะนำคือ จากความรู้เบื้องต้นในการเลือกเครื่องมือ Hardware และ Software แล้ว ถ้าเลือกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ควรเป็นระดับ Pentium II ขึ้นไป และมีความเร็ว 800 MHz มีส่วนหน่วยความจำหลัก (RAM) สัก 128 MB เป็นอย่างน้อย มีหน่วยความจำสำรอง HardDisk ขนาดความจุ 10 GB เป็นอย่างน้อย และควรมีอุปกรณ์สำรองข้อมูล CD-ReWritable และ โปรแกรมระบบ (Operating System) ควรจะเป็น Windows XP ครับ เพื่อความสมบูรณ์ของการทำงานในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพราะง่ายต่อผู้ใช้ที่ไม่มีความคล่องตัวในการดูแลระบบมากนัก พูดง่ายๆ ก็คือ เหมาะสำหรับผู้ที่ดูแลเครื่องไม่ค่อยเก่งนัก ก็สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์เลยทีเดียว และ Windows XP จะช่วยดึงความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเครื่องหยุดทำงานไปเฉยๆ (Hang) และ Windows XP รองรับการทำงานของโปรแกรมทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้อย่างดี เช่น PC ArcView รวมถึง Extension ต่างๆ ที่เพิ่มเติมเข้าไป

๒.๔ โปรแกรมทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์

เมื่อเราเข้าใจถึงความต้องการระบบคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมระบบปฏิบัติการที่จำเป็นต่อการใช้งานเบื้องต้นแล้ว ต่อไปคือการเลือกใช้โปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 5 ประการ เพื่อการใช้งานในระบบอย่างสมบูรณ์ คือ

๑) การป้อนข้อมูลและการตรวจสอบข้อมูล (Data Input and Verification)

โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ดีนั้นควรมีระบบการป้อนข้อมูลที่ดี และมีประสิทธิภาพ โดยการนำเข้าข้อมูลนั้นอาจเป็นการเปลี่ยนข้อมูลจากแผนที่ต้นแบบ ข้อมูลดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ ให้อยู่ในรูปของดิจิตอล โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการนี้ เช่น Digitizer, Scanner เป็นต้น ซึ่งในขณะนำเข้าข้อมูลทั้ง Spatial Data และ Non-Spatial Data นั้นจะมีระบบของโปรแกรมควรมีส่วนช่วยเหลือให้ผู้ใช้โปรแกรมสามารถดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเพื่อลดความผิดพลาดของการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

๒) การจัดเก็บข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล (Data Storage and Database management)

โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ดี ควรมีระบบการจัดเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับรูปแบบข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ (Featues) ประเภทต่างๆ คือ จุด เส้น หรือพื้นที่ (Point, Line, Polygon) ให้มีโครงสร้างที่สามารถจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ และผู้ใช้สามารถเรียกมาใช้ได้โดยสะดวก ซึ่งจะมีโครงการหรือรูปแบบในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันในแต่ละโปรแกรมตามคุณลักษณะของโปรแกรม อาจจะจัดเก็บในรูปแบบของเวคเตอร์หรือราสเตอร์ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป

๓) การคำนวณและการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Manipulation and Analysis)

โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ดี ควรมีรูปแบบ การคำนวณและวิเคราะห์ผลข้อมูลหลายรูปแบบ และจะปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่า Data Transformation เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลนั้นๆ โปรแกรมสามารถนำข้อมูลทั้ง Spatial และ Non-Spatial data มาใช้ในการวิเคราะห์โดยตัวเองหรืออาจจะใช้ในการวิเคราะห์ร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้คำตอบที่ผู้ใช้งานต้องการ

๔) การรายงานผลข้อมูล (Data Output and Presentation)

โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ดีควรมีวิธีการแสดงผลของข้อมูล และข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ โดยผลที่จะได้อยู่ในรูปของแผนที่ ตาราง กราฟ ฯลฯ อ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ และอาจจะพิมพ์รายงานผลโดยใช้พลอตเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์ หรืออาจจะเชื่อมโยงกับโปรแกรมอื่นๆ ในการรายงานผลได้อย่างสมบูรณ์

๕) ความสัมพันธ์กับผู้ใช้ (Interaction with the User)

โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ดีนั้น จะต้องอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี โดยมีการสร้างรายการ (Menu) ต่างๆ ที่ไม่ยุ่งยาก ในระบบของคำสั่งในรูปแบบกราฟฟิก (Graphic User Interface – GUI) ซึ่งสื่อความหมายของคำสั่งทำให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจได้ง่าย และมีขั้นตอนที่ต่อเนื่องสมบูรณ์ หรืออนุญาตให้ผู้ใช้งานโปรแกรมสามารถสร้างหน้าต่างเองหรือดัดแปลงให้เหมาะสมกับประเทศของตนเองได้ และสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบด้านซอฟท์แวร์ ซอฟท์แวร์หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการทำงานซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการเลือกโปรแกรมทางด้าน GIS การเลือกโปรแกรมให้ประสบความสำเร็จแยกได้เป็น 3 ประเด็น

– จะหาโปรแกรม GIS ได้ที่ไหน

– โปรแกรม GIS จะตรงกับความต้องการของเราหรือไม่

– ค่าใช้จ่ายหรือราคามากน้อยเพียงใด

โปรแกรม GIS จะหาได้ที่ไหนนั้น ส่วนใหญ่จะค้นหาชื่อและที่อยู่ผู้ขายได้จากหนังสือ ประเภท Software directory ซึ่งอาจจะหาได้ยากในเมืองไทย ส่วนใหญ่ก็จะดูจากนิตยสารหรือแผ่นใบปลิวที่ทางบริษัทผู้ขายหรือสอบถามจากหน่วยงานที่มีโปรแกรม GIS อยู่แล้วในเมืองไทย ที่ใช้อยู่แล้วได้แก่ ARCVIEW, ARC/INFO, InterGraph, PAMAP, SPANS, ILWIS และ MapInfo Professional

สำหรับโปรแกรมจะตรงกับความต้องการหรือไม่ ผู้ที่จะใช้งานต้องรู้ข้อมูลในส่วนนี้ รวมถึงงบประมาณที่มีอยู่ด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่ ในที่นี้ของเสนอเป็นแนวทางในการเลือกโปรแกรม GIS ดังนี้

1. หารายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม (ทั้งทางผู้แทนจำหน่าย หรืออินเตอร์เน็ต หรือ website ที่เกี่ยวข้องกับด้าน Geomatics ที่ได้ให้คำแนะนำในการซื้อโปรแกรมอย่างดี)

2. ตรวจสอบงานที่จะดำเนินการกับโปรแกรมที่จะเลือก (ให้ตรวจสอบดูความเหมาะสมของงานที่จะดำเนินการว่า คุณลักษณะของโปรแกรมสามารถสนับสนุนการทำงานของงานหรือโครงการที่จะทำได้มากน้อยเพียงใด อาจจะขอคำแนะนำจากผู้ที่เคยผ่านการใช้งานมาบ้างก็ได้)

3. ให้ผู้ขายเสนอรายละเอียดและราคา (หลังจากที่เลือกได้โปรแกรมที่ต้องการแล้ว จากนั้นเราควรให้ผู้แทนจำหน่ายส่งรายละเอียด และราคามาให้โดยละเอียด ถ้าสนใจหลายรายก็ให้ส่งมาหลายราย แล้วทำการเปรียบเทียบ)

4. จัดทำตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ (เมื่อได้ข้อมูลมาหลายๆ ราย หรือหลายโปรแกรม ทำการเปรียบเทียบในด้านราคา และคุณสมบัติ การตอบสนองต่องานที่จะทำ และที่สำคัญบริการหลังการขาย อาจจะมีส่วนในการตัดสินใจเลือกซื้อได้เช่นกัน หรือเครือข่ายหลังการซื้อว่าสามารถติดต่อขอคำแนะนำได้ที่ไหนในการใช้งาน)

5. ขอเยี่ยมชมการสาธิตและใช้งานแต่ละโปรแกรม (ถ้าสนใจโปรแกรมใดเป็นพิเศษ หรือสนใจอยากเห็นประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละโปรแกรม อาจจะขอเยี่ยมชม หรือให้ตัวแทนจำหน่ายมาสาธิตวิธีการใช้โปรแกรมได้)

6. วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่างๆ (เมื่อเห็นราคา และได้รับชมการสาธิตแล้ว ก็อาจจะเห็นถึงคุณภาพ ว่าสมกับราคาหรือไม่ อาจจะช่วยให้การตัดสินใจของเราดีขึ้น)

7. ประเมินขีดความสามารถด้านเทคนิค (ในกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นเป็นประเด็นสำคัญ ว่าโปรแกรมมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของเราหรือไม่ ในการที่จะปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม และไม่ยุ่งยาก และอาจจะดูจากสถาบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอน และวิจัยทางด้านนี้)

8. ประเมินขีดความสามารถของผู้ผลิตและผู้ขาย (ให้ตรวจสอบบริการหลังการขาย ทำให้ทราบถึงความสามารถของผู้ผลิต หรือการสนับสนุนทางด้านเทคนิคของผู้แทนจำหน่ายในเมืองไทย หรือถ้ามีสถาบันการศึกษาช่วยในเชิงเทคนิคมากน้อยเพียงใด สำหรับโปรแกรมชุดนั้นๆ เพราะหากติดขัดบางครั้งไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในขั้นสูงยิ่งขึ้นไปได้)

9. เลือกโปรแกรม (หลังจากที่ได้พิจารณาประเด็นดังกล่าว จนพอใจแล้ว ทำการตัดสินใจเลือกซื้อโปรแกรม ที่เหมาะสมกับงาน และงบประมาณที่หน่วยงานมี)

ศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้ทำการสำรวจทางด้านซอฟท์แวร์ที่ปรากฎอยู่ในขณะนี้ ซึ่งได้อ้างอิงมาจากแบบสอบถามและอีกส่วนหนึ่งได้มาจาก GIS Source book ปี พ.ศ. 2537 มีดังนี้

1). ชื่อซอฟท์แวร์ Arc/INFO, Arc View, Arc CAD, ArcGIS

� สามารถที่จะทำงานบนระบบจัดการที่เป็น DOS, Windows, UNIX, SUN, SUN/OS, AIX, ULTRIX ใช้สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows NT 4.0 และ Windows 2000 เป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานบนเครื่อง PC computer สามารถแสดงผล จัดการสอบถาม วิเคราะห์ ผสมผสานข้อมูลแผนที่ได้อัตโนมัติ สามารถใช้งานได้แบบ stand-alone และยังคงมีคุณสมบัติเหมือนกับ ArcView GIS 3.x แต่ได้เพิ่มคุณสมบัติเช่น ArcCatalog สำหรับในการเลือกข้อมูลจัดการข้อมูลเพื่อแสดงผล การจัดการ Projection และสามารถสร้างปุ่มคำสั่งได้ด้วยคำสั่ง Visual Basic for Application (VBA)

� สามารถที่จะเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องมือ เช่น Manual digitizing , Scanner, GPS, Photogrammetric Mouse , COGO

� ซอฟท์แวร์ สามารถที่จะทำการ วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านพื้นที่ได้แก่ Generate buffer,Map analysis function , Located neighborhood operation, Surface analysis, Network analysis, Polygon, operation, Miscellaneous,และ Digital image analysis DATA management DB2, dBASE, DS, Foxbase, INFO, Informix, Ingres, Oracle, Sybase, RDB, Internal Database Data Structure Raster, Topological Vector, Non-topological Vector, TIN, 3D, Links to CAD, GPS, DBMS, Scanning

� ในปี พ.ศ. 2544 ราคาของ ArcView 8.1 เท่ากับ 1,500 US$ ถ้า Upgrade ราคาเพียง 600 US$ PC Arc/Info 4.0 ราคาที่ 2,995 US$


รูปที่ 2.3 โปรแกรมด้าน GIS ของบริษัท ESRI

Source : http://www.esri.com

2). ชื่อซอฟท์แวร์ MGE, Microstation, FRAMME

� MGE :เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำงานบนระบบจัดการ ที่เป็น UNIX, DOS, Windows NT สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องมือ เช่น : Manual Digitizing , Scanner, GPS, Photogrammetric, Mouse ,COGO

� ซอฟท์แวร์สามารถที่จะทำการวิเคราะห์ เชิงพื้นที่ได้แก่ Digital image analysis, Network analysis, Surface analysis,Map analysis function , Generate buffer และ Polygon Operation

� Microstation : เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำงานบนระบบจัดการ ที่เป็น UNIX, DOS, Windows NT

� สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องมือเช่น : Manual, Digitizing , Scanner, Mouse, GPS

� ซอฟท์แวร์สามารถที่จะทำงานด้าน Automated Mapping , ทางด้าน CAD , วัดระยะทาง, Generate buffer และ Surface analysis

� Framme: เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำงานบนระบบจัดการ ที่เป็น UNIX, DOS, Windows NT

� สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องมือเช่น : Manual Digitizing, Scanner,Mouse,GPS,Photogrammetric

� ซอฟท์แวร์สามารถที่จะทำการวิเคราะห์ เชิงพื้นที่ได้แก่, Digital image analysis, Network analysis, Surface analysis, Map , Generate buffer และ Polygon operation

� DATA management — DB2, dBASE, IMS, INFO, Informix, Ingres, Oracle, Sybase .

� Data Structures — Raster, Topological Vector, Non-topological Vector, TIN, 3D, Object

รูปที่ 2.4 โปรแกรมด้าน GIS ของบริษัท Intergraph

Source : http://www.intergraph.com/gis/

3). ชื่อซอฟท์แวร์ SPANS , SPANSMAP

� เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำงานบนระบบจัดการ ที่เป็น UNIX, Windows , OS/2

� สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องมือเช่น : Manual Digitizing , Mouse, GPS

� ซอฟท์แวร์สามารถที่จะทำงานด้าน Desktop Mapping, วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านพื้นที่, Map analysis function, Surface analysis, generate buffer, Network analysis, Digital image analysis และ Polygon operation DATA management Dbase, Internal Database, OS/2, E.E Database, DB2, Foxbase Data Structures Raster, Topological Vector, Non-Topological Vector

4). ชื่อซอฟท์แวร์ IDRISI

� เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำงานบนระบบจัดการ ที่เป็น DOS และได้พัฒนาเป็นบน Windows สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องมือ : Manual Digitizing , Mouse, Scanner ซอฟท์แวร์สามารถที่จะทำงาน วิเคราะห์เชิงพื้นที่ , Map analysis function, Surface analysis, Gengate buffer, Digital image analysis และ Polygon operation เป็นต้น

� – DATA management — DBASE through ASCII files from any DBMS .

� – Data Structures– Raster, Topological Vector, Non-Topological Vector

� ผลิตโดย Clark University ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้ง GIS และ Remote Sensing ในปี พ.ศ. 2544 IDRISI32 Release2 ราคา 1,500 US$ (เอกชน)

รูปที่ 2.5 โปรแกรม IDRISI 32 Release 2

Source : http://www.clarklabs.org/

5). ชื่อซอฟท์แวร์ ILWIS (the Integrated Land and Water Information System)

� เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำงานบนระบบจัดการ ที่เป็น DOS , Windows

� สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องมือเช่น : Manual Digitizing , Mouse และ Scanner

� ซอฟท์แวร์สามารถที่จะทำงานด้าน วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านพื้นที่ , Remote Sensing และ Format conversion

� – DATA management — Internal Database, dBASE , Lotus, Oracle, Paradox

� – Data Structures — Raster, Topological Vector, Non-Topological Vector, 3D, Attribute data, Tabular data

ในปี พ.ศ. 2544 ได้พัฒนาถึง ILWIS 3.0 ราคา NLG 295,00 [EURO 134,00]

รูปที่ 2.6 โปรแกรม ILWIS

Source : http://www.itc.nl/ilwis/ilwis.html

6). ชื่อซอฟท์แวร์ PAMAP

� เป็นซอฟท์แวร์ที่ทำงานบนระบบจัดการ ที่เป็น DOS

� สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องมือ : Manual Digitizing , Mouse

� Software สามารถที่จะทำงานด้าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่


รูปที่ 2.7 โปรแกรม PAMAP

Source : http://www.pcigeomatics.com/product_ind/prpamap.html

Comments are closed.

ข่าวสารย้อนหลัง
Who's Online
2 visitors online now
0 guests, 2 bots, 0 members
Powered by Visitor Maps